ปรับมุมมองของการกด Like กับสิ่งที่ควรรู้ สำหรับคนที่ทำ Online Marketing Campaign บน Facebook
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ล่าสุดจาก socialbakers จำนวนผู้ใช้ Facebook ทั่วโลก กว่า 681, 979, 020 accounts และในประเทศไทย ก็มีจำนวน account ของ facebook กว่า 9,298,000 ผู้ใช้ เป็นลำดับที่ 19 ของโลก การออกข้อกำหนด facebook promotions guideline policy นี้ กระทบคนไทยกว่า 9 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้น ผมคิดว่า คนไทยทุกคนต้องรู้ นักการตลาด อเจนซี่่ AE ต้องรู้
ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำเอา Facebook มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผมเรียกว่า “Fashion Marketing” เพราะทำตามๆกัน อยากมีบ้าง แต่สุดท้ายแล้ว Brand Loyalty มีไหม อาศัยการเชิญชวนการเข้าไปกด like เพื่อให้ได้จำนวนคนเป็นแฟนเพจมากๆ มีภาพของ social media marketing ในการทำตลาดผ่าน facebook มันคือความสำเร็จ?
ด้วยความที่หลายคนคุ้นเคยกับการ “กด Like” การตลาดในไทยเอง ก็ได้เอาแบบอย่างและรูปแบบการทำตลาดเมืองนอกมาใช้ก็คือ “การกด Like” เพื่อให้เป็นแฟนเพจของแบรนด์นั้นๆ และเป็นที่ถกเถียงกันว่า การวัดประสิทธิภาพการทำการตลาด การวัด Growth, Interesting, ROI ของ Facebook ในแง่ของแบรนด์คืออะไร เพราะหลายๆคน มองว่า “จำนวน” ตัวเลขคนกดที่ “Like” Fanpage คือความ “นิยม” ของแบรนด์ โดยมีการวัดว่า แบรนด์ใดที่มีจำนวนคนที่ “กด Like” มาก ก็จะเป็นการวัด KPI ในการทำการตลาดออนไลน์ผ่าน Facebook ว่า แบรนด์นั้นคนให้ความนิยมและสนใจมาก แต่อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่เลย เพราะจำนวนคนที่กด Like กดเพื่อสร้าง “จำนวนตัวเลข” ในการเป็นแฟนเพจ หรือต้องการที่จะชิงรางวัล หรือทำการปลอม account บน Facebook ขึ่นมาเพื่อกด like ให้ได้จำนวนมากๆ ถามว่าคุณภาพล่ะ คุณภาพของคนที่เป็นแฟนของแบรนด์ตัวจริง ไม่ได้วัดกันที่ตัวเลข ตัวเลข ไม่ได้วัดความนิยมเสมอไปแล้ว คุณ @kafaak ก็เคยเขียนไว้ ในเรื่องของจำนวนคนที่ Follow ใน twitter ไม่ใช่การวัดความมีอิทธิพล และบทความวิเคราะห์ปรากฎการณ์บน social media ด้านจิตวิทยา ตอนที่ 7 เพราะการวัด “คุณภาพ” ของคนที่ติดตามแบรนด์ คือคนที่ชอบแชร์ ชอบส่งต่อ คนที่สนใจแบรนด์เข้าร่วมกิจกรรมจริงๆ ไม่ใช่การเอา “จำนวน” คนที่เป็นแฟนเพจหรือ follower มาเป็นตัววัดความสำเร็จ ส่วนตัวผมทำการตลาดให้กับหลายๆแบรนด์ ผมมองว่า ถ้า content เราน่าสนใจ ก็จะมีคน retweet, fav, share facebook ต่อ หรือเอาไปเขียน blog / post webboard ต่อให้เอง ดังนั้น จะทำยังไง ถ้าเราไม่พึ่งการกด like แต่ทำ content ข้อความให้น่าสนใจ คนอยากจะแชร์ต่อ บอกต่อด้วย emotion ของตนเอง ไม่รู้สึกว่าเป็นเงื่อนไขในการถูก (แกม) บังคับให้กด like แต่การกด like บน facebook policy ใหม่ออกมาว่าให้ทำแคมเปญผ่าน app ได้ แต่ไม่ใช่การชวนมากด like
ลองดูตัวอย่างจาก Socialbakers ภาพข้างล่างนี้ 5 อันดับของ Facebook Fanpage ในไทย วัดกันที่ ตัวเลขจำนวนแฟน (อัพเดตข้อมูลจาก Social Bakers)
ถามว่า จำนวนคนกด like คือคนที่ชอบแบรนด์ไหม ไม่ใช่ทั้งหมด อาจจะอยากได้รางวัล กดตามเพื่อน กดเพราะอยากอัพเดตข่าวสารแบรนด์ แต่เอาเข้าจริงแล้วในหน้า news feed ของ facebook เรากด like มาหลายร้อยหลายพันเพจ เพื่อนอีกกี่พัน ยากที่จะเห็นแบรนด์ที่เราชอบจริงๆ ถ้าเป็นอย่างแฟนพันธุ์แท้จริงๆ จะช่วยในการ กด like ให้ แชร์ต่อให้ โพสลง status ให้ ส่วนการ tag รูปที่เคยทำ เป็นผลดีกับแบรนด์ แต่ถามว่า ในระยะยาวก็คงไม่ยั่งยื่น เพราะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้จริงๆ
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เป็น blogger ในการเขียน blog และทวิตวันละ 150 – 200 ทวิตต่อวัน มีจำนวนทวิตกว่า 12x,xxx ทวิต มีคน follow กว่า 3,9xx คน ถามว่า ความสำเร็จคืออะไร ผมมองว่า ความสำเร็จ คือการที่มีคนติดตามเราทำการ retweet, fav บอกต่อ แชร์ต่อ ในสื่อ social media ของเขาเอง อย่างกรณีล่าสุด ที่ Facebook มี Facebook Promotions Guidelines Policy ออกมา
ถามว่า การกำหนด policy: Promotions Guidelines ของ Facebook มีผลอย่างไร มีผลเยอะมาก ไอ้ครั้นเราจะเข้าไปกด like ๆๆๆๆๆๆ เพื่อให้มีสิทธิในการชิงรางวัล หรือเข้าร่วมแคมเปญการตลาดโดยการกด Like ก็คงเป็นไปไม่ได้แล้ว อ่านรายละเอียดจากพี่ @fringer ได้ที่ http://www.fringer.org และจาก Thumbsup เอาเป็นว่า มีผลกระทบอย่างรุนแรง รุนแรงตรงที่ เจ้าของแบรนด์ อเจนซี่ ทุกคนต้องเข้าใจและทำตามข้อกำหนด ต้องรู้ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ จะให้ชวนกันไปกด like ชิง iPhone4 ก็คงจะไม่ได้ซะแล้ว หรือการเอา logo Facebook ไปหากิน ใช้คำว่า “หากิน” จริงๆ เพราะผมมองว่า ทุกคนเอา Logo Facebook มาใช้ในการโฆษณา โดยไม่ได้ดู logo brandmark guideline กันเลย ก็สมควรแล้ว
จากนี้ต่อไป พฤติกรรมในการใช้งาน Facebook คงต้องปรับกัน ไม่ใช่ว่าเข้าไปที่ไหนก็ like like like กด like แหลก แต่ไม่ได้มีความภักดีกับแบรนด์ ทำเพียงเพราะอยากได้รางวัล หรือมีการสร้าง account มาเพื่อสร้างยอด like ให้บรรลุตาม KPI ที่ตั้งไว้ แต่นักการตลาดจะต้องปรับความคิดใหม่ Facebook = app = platform ไม่ใช่ Web เอะอะกด like like like แล้วสุดท้ายแบรนด์ก็ไม่ได้ loyalty อะไรนอกจากตัวเลข
ผมยกตัวอย่าง Facebook ของ Greenwave, เดี่ยว 9 ที่จำนวนคน like ไม่ได้เยอะมาก
ตัวอย่างที่ผมยก ทำเอาตกใจ เคยเข้ามาดู เห็นว่ามีกิจกรรมนึง กด like บน wall ร่วมๆ 8xx likes อันนี้เบาะๆ
Page นี้ like แค่ 50,197 likes แต่มีคนกด likes แสดงความสนใจและชอบ “เนื้อหา” บน Wall 198 likes แล้วก็มี 21 comments
ส่วน เดี่ยว 9 ทำเอาเหวอมาก
เพราะคนกด like หน้าเพจไม่เยอะ แต่แค่เล่นเกมแจก “แก้วน่้ำ” ย้ำ “แก้วน้ำเซรามิค” แค่ “แก้วน้ำ” ไม่ใช่ iPhone4 นะ คนกด likes 361 ครั้ง มี 60 comments
ที่ผมยกตัวอย่างขึ้นมา ก็เพราะว่า ความสนใจของคน ไม่จำเป็นต้องเป็น iPhone4, iPad, Macbook แต่ความสนใจมันคือ Emotional ความรู้สึก “มีส่วนร่วม” กับแบรนด์ มากกว่า แจกแก้วน้ำ 10 ใบ จากคนที่เราชื่นชอบ แย่งกันเล่นกิจกรรม ยอมกด likes เองโดยไม่ต้องร้องขอ นี่คือ brand loyalty ที่มาจากอารมณ์ และความรู้สึกจริงๆ
สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไป ผมอยากจะให้มีการแชร์ “เนื้อหา” ที่สร้างสรรค์ ในการที่จะกด like และ แชร์บน facebook ของตนเอง ในการให้ social media ของแต่ละคนช่วยโปรโมตให้แบรนด์ มากกว่าจะมากด like เอาจำนวนเพื่อเล่นเกม หรือจะพูดว่า เล่นเกม รางวัลล่อ เพื่อหาจำนวนคนกด like เข้า Facebook Fanpage ก็ตามทีเถอะ
ทาง MarketingByte นั้นได้จัดทำ Facebook Ranking ในไทย อันนี้สิ ผมว่าน่าสนใจ เพราะคนเราไม่ได้มองแค่การกด like จำนวน Fanpage แต่มองไปถึงการ Interaction ของคน ในการแชร์ต่อ การโพส การคอมเมนต์ growth rate มากกว่าแค่ กด like เอารางวัล เล่นเกม แต่แน่นอนว่า app Facebook มาแน่ๆ
สิ่งที่ผมคาดหวังต่อไปคือ การ Interaction กับ brand มากขึ้น เนื้อหาน่าสนใจขึ้น คนตอบรับ กด likes บน wall ทำการ respond บน wall มากขึ้น อย่าลืมว่า คนไทยพวก “อ่านอย่างเดียว” เยอะมาก คือไม่กด like ไม่ comment อ่านแล้วผ่านไป มีเยอะ การตลาดในไทยต้องปรับตัวจากข้อกำหนด policy ของ facebook ที่หลายแบรนด์ยัง “ละเลง” like กันอยู่อย่างสนุกสนานกับทุกสื่อ อ้างชื่อ facebook เอาเครื่องหมายการค้าไปใช้งาน เอารูปนิ้วโป้งกด likes ไปหากินก็มีเยอะ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พฤติกรรมเหล่านี้ มันทำให้คนสนใจ Facebook กันมากขึ้นด้วย และมีอัตราการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น จำได้ว่าเมื่อต้นปี Facebook ในไทย มีจำนวนคนใช้งานแค่ 7 ล้านคน ตอนนี้ พฤษภาคม 2554 พุ่งเป็น 9 ล้านคนในเวลาเพียงครึ่งปี ติดตามกันต่อไปกับรูปแบบการทำตลาดของ online marketer & social media marketer ในไทย ว่าจะมีรูปแบบการทำตลาดให้น่าสนใจอย่างไร แต่ที่แน่ๆ กฎของ Facebook ครั้งนี้ก็ทำให้วงการอเจนซี่ สะเทือนได้ถ้ายังคิดในกรอบเดิมๆ อยู่
บทความโดย @yokekung
Social Media Marketer
Ok มากคะ