เกาะติดข่าว Social Media และเตรียมการหนีน้ำท่วมแบบคนไอที
จากกระแสข่าวน้ำท่วมในหลายๆจังหวัด ทำให้คนไทยปรับตัวในการรับข่าวสารผ่าน Social Network มากขึ้น และรับข่าวสารจากนักข่าวทั้งอาชีพและนักข่าวอาสา อ้างอิงข้อมูลจาก twitter @thaitrend ได้ทวิตข้อควา่มว่า เดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีคนที่ทวีตไทยทั้งหมด 426845 user เทียบกับกันยายนที่ 356060 user และสิงหาคมที่ 330491 user นั่นหมายถึงว่า คนไทยสมัคร twitter มากขึ้น หนึ่งในจุดประสงค์ในการสมัครก็เพื่อติดตามข่าวสารน้ำท่วม ที่เป็นทางเลือกในการรายงานข่าวจาก จส100 สวพ91 และนักข่าวสำนักต่างๆ
รวมไปถึงนักข่าวพลเมืองที่รายงานผ่านแอพ Thai Flood Reporter โดยรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากในพื้นที่ มีจุดพิกัดรายงานตรงจุด และการรายงานข่าวน้ำท่วมจากนักข่าว @noppatjak ที่นำเอาเทคโนโลยี Location-Based มาใช้ในการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมให้ตรงจุด ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ twitter ช่วยน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีการใช้ Facebook แชร์ข้อมูลน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพน้ำท่วม การบรรยาเหตุการณ์ การนำเสนอภาพน้ำท่วมในบ้าน โดยรายงานจากพื้นที่จริง
โดยข้อมูลจาก Social Bakers ระบุว่าจำนวนผู้ใช้ Facebook ในประเทศไทย 12,881,800 และเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 3,583,800 บัญชีในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับ twitter นั้นเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่ช่วยเหลือกันในการรายงานข่าวน้ำท่วม รวมไปถึงการใช้ Hashtag #thaiflood #siamarsa บน Twitter ที่ติดอันดับ Thaitrend อ้างอิงจากวันที่ 8 พฤศจิกายน มีจำนวนทวีตทั้งหมด: 1,962,079 ทวีต จำนวนคนที่ทวีต: 112,115 user tag ที่มีการพูดมากสุด: #ThaiFlood คำ/วลีที่ถูกพูดถึงมากสุด: น้ำท่วม รวมไปถึงการรับชมข่าวและทวิตข้อมูลตามเนื้อหาข่าวจาก #ThaiPBS #Springnews #ch3 #ch7 โดยสังเกตจากการทำข่าวของช่อง ThaiPBS ที่น่าสนใจและน่าติดตาม รวมไปถึงการนำเอาการรายงานและวิเคราะห์จาก รศ.เสรี ศุภราทิตย์ มาช่วยในการเสริมความน่าสนใจของเนื้อหา ทำให้มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเร็วมาก
ดูจาก Twitter ของ @thaiPBS พบว่า จากปกติที่มีคนติดตามประมาณ 60,000 คน พุ่งสูงขึ้นเป็น 120,000 คน ภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากน้ำเริ่มเข้ากรุงเทพมหานคร และเป็นสื่อทางเลือกที่คนไทยคอยติดตามสถานการณ์น้ำท่วม
ในขณะเดียวกัน @kitti3miti ที่ลงพื้นที่รายงานข่าวน้ำท่วมก็มีผู้ติดตามเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 120,000 คน พุ่งไปถึง 190,000 คน ภายในเวลาไม่กี่วัน
Twitter @js100radio ก็มียอดผู้ติดตามพุ่งจาก 13x,xxx เป็น 18x,xxx ภายในเวลาไม่กี่วัน
ส่วนที่ต้องชมเชยมากๆก็คือ สวพ.91 @fm91trafficpro ที่ครั้งนี้ลุย Social Network หนักมาก ทั้งการสอบถามเส้นทาง การเดินรถ การสอบถามการหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วม คนติดตามจาก 2 หมื่นคนเป็น 4 หมื่นกว่าคน นอกจากนี้ยังตอบทุกทวิตที่สอบถามเส้นทาง การเดินทาง การเลือกใช้เส้นทางการเดินรถ ต่อเรือ ความช่วยเหลือต่า่งๆ เอาใจช่วยเพราะทำงานหนักมากจริงๆ
หลังจากที่ติดตามข่าวจนปวดหัว เครียด ก็มีอะไรดีๆให้เราได้มี “สติ” ด้วยการอธิบายความเข้าใจเรื่องน้ำท่วมจาก รู้ สู้! Flood ซึ่งในขณะนี้ (9 พฤศจิกายน) มีคลิปที่เผยแพร่ออกมาแล้ว 6 คลิป โดยมีผู้ชมช่อง Youtube RoosuFlood กว่า 2 ล้าน 4 แสนครั้งแล้ว (นับถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554)
ส่วนคนที่น้ำท่วมแล้ว อพยพมาแล้ว แต่ชีวิตคนไอทียังต้องทำงานต่อไป อย่างผม ตอนที่ทำงาน Work @home ผมก็ใช้ 3G Truemove ต่อเน็ตกับโน้ตบุ๊ก สำหรับคนที่ใช้ iPhone 4 iOS 4 ขึ้นไป สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแชร์เน็ตผ่าน Personal HotSpot ให้อุปกรณ์อย่าง โน้ตบุ๊ก แท็ปเล็ต มือถือ ให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่มีสัญญาณ 3G ครอบคลุม สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย มีข้อแม้ว่าต้องมีไฟใช้ อย่างน้อยก็ใช้ในการประสานงานกับที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานได้ ความเร็ว ที่หลายๆคนสงสัย อย่าแปลกใจ สำหรับผม เขียน Blog ใช้ Social Network ตอบอีเมล์ วัดความเร็วที่บ้าน และที่หอพักได้ประมาณ 1.5 – 1.8 Mbps ในส่วนของการดาวน์โหลด และอัพโหด 0.5 – 0.7 Mbps อย่ามองแค่ตัวเลข จริงอยู่ว่าน้อย แ่่ต่พอใช้งานจริงๆก็ไม่ได้ติดขัดอะไรครับ
การเตรียมการของคนไอที ในการอพยพหนีน้ำท่วม สำหรับผม อุปกรณ์ไอที อยากจะให้เก็บขึ้นที่สูง เพราะสินค้าไอทีมักไม่ถูกกับน้ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากใครมีโน้ตบุ๊กหลายตัว การนำไปไว้ในสถานที่อื่นที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมและขโมยจะดีมาก สำหรับ PC แนะนำว่า ให้ถอดเฉพาะ Harddisk ออกมาเพื่อพกพาง่าย ไม่ต้องกังวลว่าจะแบก PC ทั้งเครื่องยังไง เพราะเมื่อน้ำท่วม การแบกของหนักไม่ใช่เรื่องง่าย แนะนำให้สำรองข้อมูลและ Sync ข้อมูลกับมือถือให้ครบถ้วน เผื่อมือถือตกน้ำ ข้อมูลก็ยังอยู่ พยายามให้บริการ Cloud ช่วย อย่าง iPhone ที่ใช้ iOS5 ก็ใช้ iCloud Backup หรือสำรองข้อมูลในคอมเราไว้บน Dropbox หรือ Box.net สิ่งที่ควรทำเมื่อน้ำท่วมบ้าน แล้วอพยพไปอยู่ข้างนอก หากต้องอพยพไปอยู่ข้างนอกเป็นเวลานาน ควรติดต่อผู้ให้บริการ เคเบิลทีวีแบบรายเดือน เพื่อขอระงับสัญญาณ เพราะน้ำท่วมเราไม่ได้อยู่บ้าน จะเสียค่าบริการรายเดือนไปก็ไม่ใช่เรื่อง ส่วนอินเทอร์เน็ต Hi-Speed ก็ระงับบริการไปก่อนได้ ส่วนบริการธนาคารออนไลน์ หรือแอพธนาคาร ก็นำมาใช้ในการจ่ายค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์บ้าน อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี เคลียร์หนี้ให้หมด เพราะหากเราไม่อยู่บ้าน บิลแจ้งค่าบริการส่งไปที่บ้านไม่ได้ หรือไปรษณีย์ติดน้ำท่วม ยังไงก็แจ้งผู้ให้บริการไว้สักหน่อยก็ดี ดีกว่าค่าไฟโดนตัดเพราะไม่จ่ายตามกำหนด แจ้งผู้ให้บริการไว้สักหน่อยว่าเป็นผู้ประสบภัย น้ำท่วมบ้าน เขามีการช่วยเหลือผ่อนผันให้อยู่แล้วครับ
สุดท้ายนี้ ขอให้คนไอที ปลอดภัยจากน้ำท่วม ด้วย “สติ” ครับ