เป็นเวลา 1 อาทิตย์เต็มๆ หลังจากแอพ Simsimi จากเกาหลี ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนและโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างรวดเร็ว กับการโต้ตอบภาษาไทยจากการป้อนข้อมูลสอนบอทแช็ตให้ตอบด้วยลีลากวนๆ และอาจจะมีคำหยาบบ้าง ลามกบ้าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะการพูดจาในกลุ่มเพื่อน เราก็พูดกันแบบกวนๆ ล้อเล่น และหยาบคายแบบนี้อยู่แล้วเป็นปกติ ไม่ได้มีใครถือคำหยาบแต่อย่างใดเพราะคุยกันในกลุ้มเพื่อนสนิทเท่านั้น แต่มนุษย์เรารู้จักกาลเทศะ ในเวลาว่างๆ เปิด Simsimi มาด่า และได้อ่านการโต้ตอบคำด่าที่ดุเดือดเผ็ดมัน เราก็สนุกของเราแต่ไม่ได้เก็บเอามาคิดให้ปวดสมอง พอเราเจอมนุษย์จริงๆก็รู้ว่ากาลเทศะควรจะพูดอย่างไร ตอบอย่างไร สุภาพหรือหยาบคายอย่างไร
แต่กระทรวงวัฒนธรรม ได้แสดงความเป็นห่วงเยาวชน กับการโต้ตอบคำหยาบจากแอพ Simsimi ถามว่า กรณีนี้ แอพผิด ผู้ผลิตแอพผิด หรือคนป้อนข้อมูลที่ผิด ล่าสุดมีข่าวบน Social Network ว่า Simsimi ถูกแบนภาษาไทย แต่พอเพื่อนๆในทวิตเตอร์ตามหาข้อมูลจากการอีเมล์ไปถามผู้พัฒนา ได้คำตอบว่า กำลังปรับปรุงระบบข้อความภาษาไทยอยู่ ไม่ใช่การแบนหรือบล็อกจาก ICT แต่อย่างใด
ก็แค่บ็อทแช็ต จำได้ทุกการท่องจำ แต่ไร้สมอง
ตอนเช้าผมทวิตออกไป มีการรีทวิตกันเยอะมาก ผมมองว่า บอทอย่าง Simsimi ไม่ได้มีหัวคิด ไม่ได้มีสมองเหมือนกับมนุษย์ ไม่มีการรู้จักแยกแยะ แต่อาศัยการคำนวณความน่าจะเป็นของการโต้ตอบ โดยตอบตามข้อความที่มีคนสอน ผมเปรียบกับพ่อแม่ พูดคุยกัน ใช้คำว่า กู มึง ตลอด เด็กก็เหมือนผ้าขาวบาง ที่จำคำพูดจากพ่อแม่ พูดคำว่า กู มึง เ)ย ตามพ่อแม่ แม้ว่าพ่อแม่จะพูดจาไม่เพราะ แต่พ่อแม่ก็สอนลูกว่า พูดจาแบบนี้ไม่เพราะนะลูก ลูกก็จำว่าเวลาคุยกับคนแปลกหน้า ผู้ใหญ่ ควรจะพูดยังไง คุยกันระหว่างพี่น้อง ควรจะพูดยังไง เพื่อนสนิท ควรจะพูดแบบไหน แต่กับ Simsimi นั้น ไม่ได้คิดแยกแยะได้เหมือนกับมนุษย์ คำตอบที่ตอบออกมา ไม่ได้ออกมาจากสมอง แต่เป็นการนำมาจากฐานข้อมูล ที่ใครก็ได้ ใส่ป้อนลงไป Simsimi เองเป็นแอพที่เหมือนเด็กขาวสะอาดเนี่ยแหล่ะ ใครสอนอะไรก็จำ จำแต่ไม่คิด ไม่แยกแยะ ไม่ไตร่ตรอง ไม่ได้ใช้สมอง
เราคบเพื่อนดี เราก็ดีตามเพื่อน เราคบเพื่อนไม่ดี เราก็เลียนแบบเอาอย่างเพื่อนที่ไม่ดี Simsimi ไม่ได้ทำผิดอะไร แต่บัดนี้ Simsimi ไม่พูดไทยกับเรา งอนชั่วขณะ จริงๆแล้วเขากำลังปรับปรุงระบบข้อความที่เหมาะสมอยู่ แต่ผมว่า ต้องมีคนบอกว่า “ท่องแบบนกแก้วนกขุนทอง” นี่มันท่องจำแบบ Simsimi ชัดๆ คือจ เลียนแบบๆๆ เรียนๆๆ ท่องๆๆ จำๆๆ แต่ไม่ใช้สมองคิดและแยกแยะด้วยวิจารณญาณของตนเอง
ล่าสุดเมื่อพบว่า ช่วงค่ำของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ใครที่คุยกับ Simsimi เป็นภาษาไทย จะพบว่า ถามอะไร Simsimi ตอบ I have no response, Teach Me Please จากข้อมูล @jetboat26 พบว่า ปัญหาเกิดจากการปรับปรุงระบบข้อความ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบล็อกหรือแบนจากกระทรวง ICT แต่อย่างใด
ถามว่า ทำไมกระทรวงวัฒนธรรม และไอซีที มายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องคำหยาบคงไม่เท่าไหร แต่เรื่องการเมืองนี่สิ แชร์กันสนุกสนาน แล้วบรรดากระทรวงเหล่านี้นะ ก็ ….. แต่อย่าปฏิเสธนะว่า ข้อความการเมืองเหล่านั้น มันมาจากการป้อนของคนไทยด้วยกันเองเนี่ยแหล่ะ มันก็คือความคิดของคนไทยซึ่งมันเป็นจริงๆ มีอยู่จริงๆตาม Social Network ต่างๆอยู่แล้ว
แต่กรณีของ Simsimi ทำให้ผมได้ข้อคิดว่า
– การออกข่าวเร็วโดยไม่ได้ตรวจสอบ นำมาซึ่งความผิดพลาดในการนำเสนอข่าว
– ข้อความจาก @kafaak เห็นด้วยเต็มๆ ประเด็นบางเรื่อง บล็อกเกอร์ตรวจสอบข้อมูลลึกกว่านักข่าวเสียอีก
– การออกข่าวช้าแต่ชัวร์ จะดีกว่า ถ้าไม่ชัวร์ อย่าเพิ่งโพส เพราะข่าวออนไลน์ไปไวมาก แล้วอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดได้
– ICT ไม่ได้ “บล็อก” ไม่ได้ “แบน” ข้อความแต่อย่างใด ข้อมูลจากแหล่งข่าวของบล็อกเกอร์คือนักพัฒนาตรงๆเลย แต่ข้อมูลของนักข่าวจาก รมต.ไอซีที ซึ่งข้อมูลของบล็อกเกอร์ก็ลึกกว่านักข่าวเสียด้วยสิ
– นักข่าวและบล็อกเกอร์ สามารถค้นคว้าข้อมูลจาก twitter และนำมาอ้างอิงข่าวได้
– ผมเป็นนักข่าวและบล็อกเกอร์ สี่ทุ่มยังนั่งมอนิเตอร์ก่อนเขียนข่าวแก้ไขอัพเดต วัญญาณนักข่าวต้องมีทุกเวลา และยอมรับขออภัยในความผิดพลาดในการนำเสนอข่าวที่เร็วเกินไป