April 4, 2025

รู้ไว้ใช่ว่า: Blogger และนักแปล กับการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ถ้าเรียกว่า “อาชีพรับจ้าง” ยังไงก็ต้องเสียภาษี ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร เห็นผมเป็น blogger รับงานโน้น นี่ ผมเสียภาษีครบทุกบาท ทุกสตางค์ เรามาดูกันว่า การเสียภาษี โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นยังไง ส่วนของดาราสาว ไปอ่านได้จาก บล็อกภาษีข้างถนน ครับ

สำหรับผมนั้น ตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี เริ่มทำงาน เนื่องด้วยผมชอบงานแปล ผมจึงทำงานแปลกับบริษัทแปล อย่าง Sigma Translation, TIS Translation, AMD Far East (ประเทศไทย) [ผลิตภัณฑ์ AMD และ ATI] ทุกงานที่ผ่านมือผม หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เรียบร้อยแล้วครับ (ถ้าเป็นดารา นักแสดง จะถูกหักภาษี 5% โหดกว่า หึหึ)

ดังนั้น ถ้าคุณตกลงว่ามีค่าจ้าง 1,000   บาท เงินที่เข้าบัญชี หรือออกเป็นเช็กให้คุณ จะไม่ใช่ 1,000 บาทครับ จะเป็นเงินที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แล้วเรียบร้อย จากนั้นจะมีใบสำคัญการหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งมาให้ถึงบ้าน

จำนวนเท่าไหรถึงจะหักภาษี? ผมเคยเขียนบทความให้นิตยสารเล่มหนึ่งในราคา 500 บาทต่อหน้า – 500 บาทก็หักภาษีนะครับ (แล้วแต่บริษัท บางแห่งเกิน 1,000 บาทถึงจะหักภาษี) แต่กรมสรรพากร ระบุว่า ถ้าเกิน 1000 บาท ต้องหักภาษีนะครับ (ดูภาพประกอบด้านล่าง)

อัตราการหักภาษีนี้ อ้างอิงจาก กรมสรรพากร โดยคิดจากอัตราหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจากค่าบริการ, รับจ้างทำของ, รางวัล, ส่วนลด, รับจ้างทำงานให้, ค่าสิทธิ, วิชาชีพอิสระ (อื่นๆ) ซึ่งการรับงานแปล และงานเขียน บล็อกเกอร์ ก็จะจัดอยู่ในอาชีอิสระด้วยเช่นกัน (ตอนที่ไปยื่นภาษี ผมเขียนในใบภาษีว่า บล็อกเกอร์ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรไม่รู้จักนะครับ จริงๆคืออาชีพอิสระ นักเขียน)

ผมทำอาชีพนักแปลอิสระมาก่อน โดยบริษัทแปล จะหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ 3% และมีใบสำคัญหักภาษีมาให้เรา เอาไว้ยื่นให้กับกรมสรรพากร ตาม ภ.ง.ด. 3 ที่ต้องยื่น และการทำงานกับอเจนซี่งานแปล ทำงานบล็อกเกอร์ก็เช่นกัน หัก 3% เหมือนกัน

แต่อย่าคิดว่า แบบนี้เราก็ได้เงินไม่ครบน่ะสิ เพราะเราหักภาษีจ่ายกรมสรรพากรไปแล้วไงครับ พอถึงเวลายื่นภาษี เราก็ยื่นว่าเราจ่ายไปเท่าไหรแล้ว เหลือจ่ายอีกเท่าไหร

มีอีกแบบนึงครับ ถ้าจะทำให้เราได้เงินครบตามที่ตกลงไว้ คือการคุยให้บัญชี (แล้วแต่บริษัท) ทำจ่ายเงินเกินจากที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้เมื่อหักภาษีแล้ว เราได้เงินครบตามจำนวนที่ตกลงไว้นั่นเองครับ แต่วิธีนี้ ผมไม่รู้นะ ว่าจะผิดกฏหมายหรือซิกแซกหรือเปล่า

ที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นนักแปลอิสระ บล็อกเกอร์ นักเขียน ทุกชิ้นงานที่ได้เงิน ผมได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่เว้นแม้กระทั่ง การได้สินค้าฟรี ก็มีใบเสร็จรับเงินเพื่อยื่นแสดงรายได้ต่อกรมสรรพากรด้วยเช่นกัน อย่าลืมนะครับ ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะทำอะไรที่ได้เงินบนโต๊ะแบบสุจริต ทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีครับ อย่าคิดว่า หักไปแล้วเหลือนิดเดียว เพราะคุณมีหน้าที่เสียภาษีครับ เงินคุณไม่ได้หายไปไหน แต่เสียภาษีให้กับกรมสรรพากรครับ

ส่วนเรื่องการลดหย่อนภาษี จะพูดถึงในบล็อกต่อไปครับ ก่อนจบบล็อกนี้ ขอรับรองว่า ทุกชิ้นงานที่อ่านบทความผมในทุกๆสื่อ หักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องตามกฏหมายครับ 😀

yokekung

สนใจงานเขียน มาตั้งแต่ อ่านนิตยสาร จนได้เขียนในนิตยสารคอมพิวเตอร์ มือถือ จนมาเป็น Blogger เขียนบนออนไลน์ สนใจมือถือ สมาร์ทโฟน การตลาดออนไลน์ ชอบ Social Media อยู่กับโลกสังคมออนไลน์ 20 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน เป็น Content Editor เว็บไซต์ ADSLThailand.com, ทำวีดีโอบน YouTube YokekungWorld ติดตามได้ที่ Twitter Facebook Instagram ทุกบริการใช้ชื่อ yokekung

View all posts by yokekung →

One thought on “รู้ไว้ใช่ว่า: Blogger และนักแปล กับการหักภาษี ณ ที่จ่าย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save