หลังจากที่ผมได้รีวิวแนะนำ EPSON L300 กับระบบหมึกแท้งค์ไปแล้ว วันนี้ก็ถึงเวลาที่จะมาบอกเล่าการใช้งานจริง ความง่ายในการเติมหมึกไม่หกเลอะเทอะ โดย EPSON L300 มาพร้อมหมึกสี และหมึกดำ โดยในชุด Start Kit มีมาให้เพิ่มอีก 2 ขวด
การเติมหมึกครั้งแรก
ก่อนอื่นต้องบอกตามตรงว่า ผมเองไม่เคยเติมหมึกแท้งค์เลย ไม่เคยใช้หมึกแท้งค์กับเครื่องส่วนตัวเลยด้วย นี่คือข้อดีที่จะทดสอบว่า การเติมหมึกเข้าแท้งค์ EPSON L300 จะง่ายสำหรับมือใหม่หัดเติมอย่างผมไหม?
สำรวจและตรวจสอบก่อนเติมหมึก
อันดับแรก ก่อนเติมหมึก อย่าเพิ่งรีบผลีผลามเติม แม้ว่าจะรีบพรินต์งานก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ห้ามเสียบปลั๊กไฟและสาย USB ตรวจสอบให้ดีก่อนเริ่มเติมหมึก ว่าปรับวาล์วหมึกปรับไปที่สัญลักษณ์รูปพรินเตอร์แล้ว
เริ่มการเติมหมึก
ในคู่มือแนะนำว่า ควรเติมหมึกให้หมดขวดในครั้งเดียว และควรเติมหมึกให้ไม่ต่ำกว่าขีดระดับที่กำหนด รวมไปถึง อายุการใช้งานที่ดีที่สุดในการใช้งานหมึกแท้งค์คือ 6 เดือน เพราะถึงหมึกแท้งค์สามารถเติมหมึกได้ตลอด แต่ก็ควรมีการบำรุงรักษา
การพรินต์งานบ้างอย่างสม่ำเสมอ หรือหากไม่ค่อยได้ใช้งานก็ควรสั่งทำความสะอาดหัวพิมพ์เป็นประจำเพื่อป้องกันหัวพิมพ์อุดตัน
ข้อควรระวัง และตอบข้อสงสัย “มือเราจะเปื้อนน้ำหมึกไหม?”
ถึงแม้ว่าจะเป็นหมึกแท้งค์แท้จาก EPSON แต่ยังไงขึ้นชื่อว่าเป็นหมึกเติม ก็มีโอกาสหกเลอะมือได้เหมือนกัน แต่อาจจะแค่เปื้อนไม่ได้ถึงขั้นหกเลอะเทอะ การถือขวดน้ำหมึกในขณะเติมหมึกควรระวังและถือขวดไม่ให้เอียง เพราะน้ำหมึกยังไงก็มีโอกาสหกได้ ในการทดสอบพบว่า จุดที่มือเปื้อน ไม่ใช่ขั้นตอนการเติมหมึก แต่เป็นตอนแกะกระดาษฟอล์ยที่หุ้มขวดหมึกเติมไว้ เลอะตอนแกะนั่นแหล่ะครับ ส่วนการเติมปกติอาจจะมีน้ำหมึกเลอะขอบตลับหมึกบ้างนิดหน่อย ควรเติมหมึกด้วยความระมัดระวัง อีกส่วนที่อาจเลอะหมึกก็คือฝาจุก ที่ผมดันพลาดปิดฝาจุกผิดด้าน มันก็เลยเลอะมือ อันนี้ความประมาทของผมเองครับ (บอกแล้วว่ามือใหม่)
อย่างที่บอกไปว่าผมเป็นมือใหม่หัดเติมหมึก ก็ยังเติมได้แบบง่ายๆ นี่ถ้ากระทรวงของ ผอ. ใช้หมึกแท้ของ EPSON L300 หมึกก็คงไม่หกเลอะเทอะ ให้ช้ำใจแบบนี้ ;P
หลังจากเติมหมึกแล้ว เราจะต้องทำการชาร์จน้ำหมึกเข้าสู่ระบบ จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที แล้วติดตั้งซอฟต์แวร์ของ EPSON L300 เพื่อจัดการการพิมพ์
หลังจากที่ชาร์ทหมึกเข้าสู่ระบบเสร็จแล้ว ยังไม่ต้องเสียบสาย USB และรอจนไฟสีเขียวที่ปุ่ม Power หยุดกระพริบ หรือติดค้าง จึงเริ่มติดตั้งซอฟต์แวร์
ย้ำอีกครั้งเรื่องวาล์ว ต้องปรับให้ชี้ไปในตำแหน่งสัญลักษณ์รูปพรินเตอร์
จากนั้นติดตั้งซอฟต์แวร์ จนถึงขั้นตอนให้เสียบสาย USB จึงเชื่อมต่อสาย USB
และต่อไปนี้คือไดร์เวอร์หรือเครื่องมือจัดการการพิมพ์ ซึ่งสามารถปรับตั้งค่าได้ตามต้องการ
การบำรุงรักษาพรินเตอร์ น้ำหมึก และหัวพิมพ์
ในหน้าแรก เมื่อกดที่เมนู “ปริมาณน้ำหมึก” พบข้อความแสดงว่าให้ตรวจสอบจากแท้งค์ด้วยตนเอง และสิ่งที่เน้นย้ำเพราะสำคัญมากก็คือเรื่องการรักษาระดับปริมาณน้ำหมึกไม่ให้ต่ำกว่าขีดระดับน้ำหมึก
การเติมหมึกไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายและสะดวก ประหยัด ย้ำอีกครั้งกับหมึกแท้ EPSON L300 ให้คุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่า มีจำนวนพิมพ์ต่อหน้าเยอะกว่า คุ้มค่ากว่า
สรุป
จากการใช้งาน EPSON L300 พบว่า การเติมหมึกง่ายมาก มือใหม่อย่างผมก็เติมหมึกได้สบาย เลอะมือนิดหน่อย พอเชี่ยวชาญคงคล่องขึ้น แถมพรินต์ได้เยอะด้วยหมึกดำแถมอีก 2 ขวด ราคาต่อขวดก็ไม่แพงด้วย หมึกแท็งค์ถูกกฏหมายไม่ใช่แท็งค์เถื่อน ต้อง EPSON L-Series ประกันไม่หมด พิมพ์ถูกเงิน งานถูกใจ