-
มีประเด็นว่า ก่อนหน้านี้ ข้าราชการชาย สามารถลาคลอด (จริงๆคือลาหยุด) ไปช่วยดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรได้ 15 วันติดต่อกัน อันนี้สำหรับข้าราชการ แล้วสำหรับลูกจ้างเอกชนล่ะ? ใครๆก็คิดว่า ลูกจ้างเอกชนงานเยอะ ติดประชุม หาลูกค้า โน่นนั่นนี่ แล้วหน้าที่ของสามีในการดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรล่ะ ควรได้ลาหยุดด้วยไหม?
-
เมื่อวาน (5 ธันวาคม 2555) ผมไปออกรายการ คม ชัด ลึก ทางเนชั่น แชลแนล ในฐานะ “คุณพ่อ” มือใหม่ และยุค Social Network ประเด็นหนึ่งที่คุยกันในรายการก็คือ ลูกจ้างชาย (เอกชน) ควรจะได้ลาหยุดเพื่อดูแลภรรยาที่เพิ่งคลอดบุตรไหม
จากประสบการณ์ตรงของผม ที่เพิ่งมีลูกอ่อนวัย 4 เดือนเศษ กำลังน่ารักเลย ผมมองว่า แม้ว่าภรรยาจะคลอดบุตรเอง หรือผ่าคลอด ก็ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นร่างกายสักระยะ อย่างน้อยก็อาบน้ำลำบาก ลุกลำบาก และแม่ลูกอ่อนก็ต้องให้นมลูกทุกๆ 3 ชั่วโมง นอนก็น้อย อ้อ แล้วสมัยนี้ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะได้ลา 90 วันเต็มนะครับ เพราะสมัยนี้ผู้หญิงก็ทำงานเก่ง ต้องทำงานหาเงิน ยิ่งเอกชนแล้วหาลาคลอด แล้วคนที่มาทำแทน ทำงานได้ไม่ดี บริษัทก็เสียโอกาสทาางธุรกิจไปเหมือนกัน
-
เทปรายการ ที่ผมไปคุยกับคุณจะเด็จ และคุณ @suharit ครับ
-
ลองดูรายการย้อนหลัง คุณจะเด็จ ผม และคุณสุหฤท พูดในเรื่องการลาคลอดของผู้ชายช่วยภรรยาเลี้ยงลูก http://www.youtube.com/watch?v=s4LyK_M6J2o
-
เอาล่ะ หลังจากไปคุยใน คมชัดลึก เมื่อวาน ล่าสุดมีข่าวว่า พ่อหยุดงานเลี้ยงลูกได้ โดยได้รับเงินเดือนปกติ bit.ly/YQLuf0 #dadth
-
ล่าสุด วันที่ 6 ธันวาคม มีข่าวออกมาแล้ว รมว.แรงงานบอกว่า น่าจะออกเป็นกฏกระทรวง ขอความร่วมมือ เพราะกระทรวงไม่สามารถบังคับผู้ประกอบการได้ และหากออก พรบ.ต้องใช้เวลานาน อ่านข่าวนี้จาก กรุงเทพธุรกิจ
-
สรุปว่า เข้าใจกันนะครับ ว่าต่อไป ผู้ชาย “มีสิทธิ” ลาไปช่วยภรรยาเลี้ยงลูกได้ และดูแลภรรยาหลังคลอดบุตรได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท แต่ที่ผมแนะนำ หากเอกชนสามารถให้พนักงานทำงานแบบ Work from home ได้ ทำงานที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ การลาก็ไม่ทำให้งานมีปัญหาครับ เพราะประชุมผ่าน VDO Conference, Skype ก็ได้ หรือเปิด Speker Phone ประชุมด้วยก็ยังได้ (ผมเคยทำมาแล้วตอนดูแลภรรยาช่วงคลอดบุตร)