รู้จักกับ Gen Z อนาคตของสังคมการทำงานรุ่นต่อไป
สำหรับใครที่ทำงาน หากมองรอบๆตัว น้องในทีม พี่ในแผนก เราจะเห็นคน Gen ต่างๆ บางแผนก บางสายงาน ก็ได้เจอคนที่มีอายุ วัยใกล้เคียงกัน แต่นั่นคือยุคของเรา ที่ทำงานกันจนอายุ 30 กว่า น้องๆ ในทีมผมก็เด็กสุดตอนนี้ก็ 2x ปลายๆกันแล้ว แต่สำหรับเด็กจบใหม่ล่ะ เด็กยุคใหม่ล่ะ เราจะทำงานกับเขายังไง จะปรับตัวเข้าหากันยังไง แล้ว Gen Z เป็นยังไง มาทำความรู้จักกันดีกว่า
เด็กแต่ละ Gen จะทำงานร่วมกันได้ไหม อันนี้เป็นคำถามที่น่าคิด ทางกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย ได้จัดเสวนาพิเศษเรื่อง “Unboxing Gen Z: The Workforce of The Future in Thailand” (ทำความรู้จักกับ Gen Z – อนาคตของสังคมการทำงานรุ่นต่อไป) ณ โรงแรมโซฟิเทล โซ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ข้อมูลใน blog นี้ นำมาจาก AdeccoThailand
ก่อนจะไปทำความรู้จักกับ Gen Z ก็หันมองส่องกระจกตัวเองก่อนว่าอยู่ Gen ไหน (ให้ทายว่าผมอยู่ Gen ไหน?)
Baby Boomer เกิดปี 2489-2507
GenX เกิดปี 2508-2519
GenY เกิดปี 2520-2537
GenZ เกิดปี 2538-2552
Gen Alpha เกิดตั้งแต่ปี 2553 ข้อมูลจาก #AdeccoGenZ
แล้วคุณคิดว่าเด็ก Gen Z มีลักษณะอย่างไร
– หลายคำตอบ คือ เอาตัวเองเป็นใหญ่ นึกถึงแต่ตัวเอง ทำตัวแปลกแยก อันนี้คือมุมมองของคนใน Gen อื่นที่มอง เรามาทำความเข้าใจพวกเขาให้ลึกซึ้งกันดีกว่า ข้อมูลจาก #AdeccoGenZ
ปัจจุบันประเทศไทยมี Gen Z ที่กำลังเรียนระดับอุดมศึกษา 97% (สรุปเข้าใจง่ายๆคือเด็กมหาลัยตอนนี้แหล่ะ ที่กำลังจะเรียนจบ (เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย 1% ทำงานเต็มเวลา 2%) ข้อมูลจาก #AdeccoGenZ
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คน Gen Z มักจะปรึกษาใคร เรื่องอนาคตและอาชีพ?
Gen Z มักถามความเห็นเรื่องอาชีพจากคนในครอบครัว รองลงมาคือครูที่ปรึกษาและเพื่อน แสดงว่าเขาไว้วางใจและมองคนในครอบครัวเป็นสำคัญ เพราะรู้จักเขามากที่สุดข้อมูลจาก #AdeccoGenZ
มุมมองในการทำงานของ Gen Z ก็คือ มองว่าพวกเขาสามารถหาเงินได้ มีรายได้มากกว่ารุ่นพ่อแม่ (ผู้เขียน: เอาจริงๆค่าเงินมันต่างกัน เศรษฐกิจและยุคต่างกัน แต่ยอมรับว่าหาเงินได้เยอะกว่าพ่อแม่จริงๆ แต่ต้องใช้ความขยันและพยายาม) และมั่นใจว่าตนเองหางานที่แรก และสำรวจตัวเองว่าชอบอะไร วางแผนการทำงานและอนาคตได้ อันนี้ผมว่าน่าจะเป็นเพราะเขามั่นใจในตัวของเขาเองด้วย ในขณะที่ Gen ผู้เขียน แต่ค่อยมั่นใจในตัวเองสักเท่าไหร
อีกมุมนึงที่น่าสนใจคือ ในประเทศไทยนั้น Gen Z สนใจทำงานในองค์กรของรัฐ มากที่สุด รองลงมาคือบริษัทจากต่างประเทศที่มาเปิดในไทย บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย และ SMS หรือทำ Startup
การที่ GenZ ชอบ Selfie ไม่ใช่แค่การถ่ายรูป แต่เป็นการ พรีเซ็นต์ตัวเอง นึกถึงตัวเอง ให้ความสำคัญกับตัวเอง และมั่นใจในตัวเอง (ข้อมูลจาก #AdeccoGenZ)
รู้จักกับ Generation Z กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ในเอเชีย
พฤติกรรมและค่านิยมของคนทำงานรุ่นใหม่ Gen Z
– มีความอยากเป็นเจ้าของกิจการ
– มองโลกในแง่ดี
– มีความรอบรู้
– เป็นคนที่ไม่ได้คิดจะเป็นลูกน้องไปตลอด อยากมีกิจการของตนเอง มีความคิดเป็นของตนเอง
– คนกลุ่มนี้ไม่รอ แต่จะริเริ่มทำอะไรใหม่ๆ เป็นคนนำเทรนด์ใหม่ๆ ทำสิ่งใหม่ๆ
– ใช้ Social Network ช่วยในการสื่อสารและบอกต่อ
– หาข้อมูลก่อนทำงาน หาข้อมูลนายจ้างก่อนเริ่มงาน
– มองความน่าไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และยึดถือความมั่นคงของตนเอง
แน่นอนว่าทุกบริษัทที่กำลังหาคนทำงาน อยากได้คนเก่ง มีความสามารถ แต่สถานการณ์ตอนนี้ Gen Z (คือประชากรที่เกิดในปี 2538 เป็นต้นไป) กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน บริษัทต่างๆจึงควรศึกษา และทำความรู้จักกับคนในกลุ่มนี้ให้มาก
Adecco ได้ทำการสำรวจกลุ่ม Gen Z จากผู้ตอบแบบสอบถาม 948 คน ทั่วเอเชีย
ชาย 50% หญิง 50% สำรวจในวันที่ 25 – 31 มกราคม 2557 แต่ละประเทศประมาณร้อยกว่าคน เอามาเฉลี่ยกัน
ดูผลการสำรวจกันดีกว่า
โดยสรุปแล้ว Gen Z มีความคิดดังนี้
– ไม่รีบร้อนเข้าทำงาน บางคนเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ยอมทำงานในบริษัทที่ไม่ใหญ่ เพื่อฝึกประสบการณ์ ฝึกงานกับนายจ้าง
– มองการฝึกงานเป็นหนทางที่ทำให้รู้จักเจ้านาย มีโอกาสได้ทำงานบริษัทใหญ่ๆได้ง่าย มีช่องทางในการทำงานในที่นั้นๆได้
– ช่วง 6 – 12 เดือนแรก ถ้าบริษัทรับคน Gen Z จะต้องเข้าใจว่า เขาอาจจะไม่ได้อยู่นาน แต่ทำงานชั่วคราว เพราะยังไม่แน่ใจว่าเป็นงานที่ตัวเองถนัดไหม และมองว่าไม่จริงจังอะไรนัก ไม่ซีเรียสเงินเดือน ยอมรับเงินเดือนต่ำกว่าวุฒิ เพราะฝึกประสบการณ์ และกำลังมองหางานที่ตนเองถนัดและชอบจริงๆ ต่างจากในยุคที่ผมทำงาน (ตอนนี้ อายุ 3x) ที่จบแล้วหางานกันอย่างเอาเป็นเอาตาย กลัวตกงาน กลัวไม่ได้งาน
– กลุ่มคน Gen Z คือกลุ่มที่กดมือถือ มองมือถือตลอดเวลา ใช้ Social Network หาข้อมูลต่างๆ
– กลุ่ม Gen Z ส่วนใหญ่คิดที่จะวางแผนสำหรับอนาคต เริ่มวางแผนเก็บเงินบำนาญตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงาน
– มองโลกในแง่ดี ว่าพวกเขาสามารถเลิกทำงานได้ในช่วงอายุกลางหรือปลาย 50
– Gen Z ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะทำงานในอุตสาหกรรมการให้บริการ เช่น โฆษณา การตลาด งานด้าน IT ที่ปรึกษา สื่อ งานบริการ งานสายอาชีพ เช่นเดียวกับสายศิลปะ กีฬา และบันเทิง
– ส่วนน้อยมากที่ในความสนใจในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม อย่างเช่น งานการผลิต และน้อยมากที่อยากทำงานในเรื่องการค้าส่ง ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมหลักในประเทศเอเชียบางประเทศ
– กลุ่ม Gen Z มีความเป็นเจ้าของกิจการสูง จากผลสำรวจ ประมาณ 30% บอกว่าการทำธุรกิจของตัวเองเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแน่นอน อีก 40% อาจพิจารณาเรื่องการเป็นเจ้าของกิจการถ้ามีโอกาสที่ดีเข้ามาหา และกลุ่ม Gen Z มองว่าเทคโนโลยีช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น เช่น ไม่ต้องทำงานในออฟฟิศ
– คิดเรื่องการเป็นเจ้าของกิจการและเริ่มธุรกิจของตัวเอง ครึ่งหนึ่งคิดว่าจะเริ่มในช่วงอายุ 20 และในจำนวนที่เท่ากันก็อยากเริ่มกิจการของตัวเองมากกว่าที่จะเข้าไปทำธุรกิจที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น กิจการของครอบครัว โดยเฉพาะในจีนและไต้หวัน
– ความมั่นคงของงานยังเป็นเหตุผลที่สำคัญทื่สุดในการเลือกงาน และหลายคนก็ยังอยากทำงานประจำมากกว่า นี่คือตัวบ่งชี้อัตราการว่างงานที่ต่ำมากในเอเชีย โดยที่มีคนที่มีงานทำในบางประเทศ
อ่านต่อ “เปิดใจ บริษัทมองคนทำงาน Gen Z”