Yokekung World

ซิมดับ คืออะไร ทำไมซิมถึงดับ ซิมดับ แล้วจะมีผลอย่างไร? มาหาคำตอบกัน

ตอนนี้ มีการพูดถึงเรื่อง ซิมดับ หลายๆคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารในแวดวงโทรคม อาจจะแปลกใจว่า อะไรคือซิมดับ ทำไมถึงดับ แกล้งอะไรกันหรือเปล่า ขออธิบายง่ายๆ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่เทคนิค ว่า บ้านเรา ก่อนหน้านี้ เป็นระบบสัมปทาน ซึ่งเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน เมื่อ 3 ปีก่อน คลื่น 1800MHz สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน บ้านเราเปลี่ยนเป็นการประมูลใบอนุญาตในการถือครองคลื่น

อ้างอิงบทความ ทบทวนความรู้เรื่อง “คลื่น” มือถือในไทย ก่อนประมูล 4G จะเห็นได้ว่า ระบบสัมปทานในประเทศไทยนั้นจะมีคลื่น 850MHz กับ 1800MHz เป็นของ CAT และ 2100MHz ของ TOT ส่วน 2100MHz ของ AIS dtac True ก็ได้ประมูลมาเมื่อปี 2555 ใช้งานเมื่อปี 2556 สำหรับ AIS นั้นมีคลื่น 900MHz 17.5MHz ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 แล้ว จริงๆ ซิมจะต้องดับ ทำไมซิมดับ ก็เพราะการสัมปทานสิ้นสุดลงแล้วนั่นเอง แต่ก็มีการคุ้มครองผู้บริโภค เรียกว่า การคุ้มครอง ป้องกันซิมดับ หลังจากนั้นเราก็มีการประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ตามลำดับ แต่เมื่อ AIS ประมูลคลื่น 900MHz มาต่อชีวิตซิมตนเองไม่ได้ ตามระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 900MHz ซิมจะต้องดับ ตั้งแต่ กันยายน 2558 แล้ว

ภาพจาก Yosso

ถ้าดูภาพโครงสร้างคลื่นโทรคมไทยเดือนธันวาคม 2558 จะเห็นว่า คลื่น 900MHz จะเป็น JAS, True เป็นส่วนของการประมูลแล้ว ไม่ใช่การสัมปทาน ที่มา

ที่มา adslthailand.com

ทันทีที่ ทรู จ่ายค่าประมูลงวดแรก ซิม AIS 900MHz เดิมจะดับทันที เพราะทางกฎหมายมองว่า ผู้ถือครองคลื่นรายใหม่แล้ว

ถามว่า ซิมดับ น่ากลัวไหม 


ซิมดับ ไม่เหมือนซิมถูกระงับ ไม่เหมือน ซิมถูกยกเลิก ไม่ใช่แค่มีเบอร์แต่โทรออก รับสายไม่ได้ เพราะเบอร์จะหายไปในอากาศ ไม่ใช่อยู่ในระบบแล้วสามารถดึงกลับมาใช้ใหม่ได้ เหมือนกับซิมถูกระงับตามปกติ ดังนั้น “ซิมดับ” จึงส่งผลให้ผู้ใช้เดือดร้อนมาก ในกรณีที่เบอร์สวย เบอร์หลัก ใช้งานประจำ บอกเบอร์ทุกคนไปหมดแล้ว ใช้มานับสิบปี หากซิมดับไปแล้ว ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ไม่สามารถช่วยเหลือ แก้ไข เยียวยา ได้เลย ร้องกสทช ก็ช่วยเหลือไม่ได้ เพราะซิมดับนั้น เบอร์จะหายออกจากระบบ หายไปในอากาศ เบอรจะย้อนกลับมาใช้ไม่ได้ (จนกว่า กสทช จะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะเข้ามาในระบบตอนไหน ถึงมีก็ไม่สามารถหาเบอร์เดิมกลับมาได้ ทางโอเปอเตอร์เดิมก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของคลื่นแล้ว) อันนี้ถ้าซิมดับจริง จะร้องเรียน Pantip ใหญ่โต ก็ไม่มีใครช่วยได้ เหตุผลคือ ผู้ให้บริการรายเดิม สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทานแล้วนั่นเอง การสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทานอะไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ทุกอย่างเป็นอันสิ้นสุด

ย้อนกลับไปช่วงปี 2554 ผมเปลี่ยนจาก TrueMove (1800MHz) เป็น TrueMove H (850MHz) เพราะรู้ข่าวว่า สัมปทาน TrueMove จะสิ้นสุดลงในปี 2556 แต่ก็มีการขยายระยะเวลาคุ้มครองซิมดับมาจนถึงตอนที่ทรูจ่ายค่าประมูลคลื่น 1800MHz

ข่าวล่าสุด ทรูยื่นข้อเสนอต่อกสทช. แบ่งคลื่น 900 MHz ที่ประมูลได้จำนวน 5 เมก เพื่อดูแลผู้บริโภคที่ซิมจะดับ แน่นอนแล้วว่าทรูจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900MHz งวดแรก ซิม AIS 900MHz จะสิ้นสุดการให้บริการลงทันที (14 มีนาคม) ทรูก็เลยยื่นข้อเสนอ ยินดียืดหยุ่นถึงขั้นไม่คิดค่าใช้จ่าย (ก่อนหน้านี้ให้เช่าเดือนละ 450 ล้านบาท) เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านคลื่น 900 MHz มีผลกระทบน้อยที่สุด แม้จะเป็นการแข่งขัน แต่ก็ควรคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ

อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป?

วันที่ 14 มีนาคม ผู้ใช้ AIS 900 เดิม ซิมจะดับ แต่คนไหนที่รับเครื่องฟรีแล้ว ใช้ AIS 3G 2100MHz ยังใช้งานได้ตามปกติ ลูกค้า AIS หลายล้านคน อาจได้รับผลกระทบจากซิมดับ ทรูยินดีคุ้มครองผู้ใช้ 2G AIS ให้ใช้เครือข่ายฟรี ทรูยินดียื่นข้อเสนอให้กสทช.นำคลื่นความถี่ 900 MHz ที่ทรูประมูลได้มาใช้งานเป็นการชั่วคราว ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2559 เพื่อให้ลูกค้า 900 MHz สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องบนระบบเดิม

ก็รอดูกันต่อไปว่า AIS จะตอบรับอย่างไร ที่แน่ๆ ตอนนี้ลูกค้า AIS 900MHz เดิม จะย้ายค่าย ก็คงไม่ทัน 14 มีนาคมแน่ๆ ถามว่าซิมจะดับจริงไหม ถ้าไม่ได้ข้อยุติ ตามข่าวนี้ก็บอกว่า TOT เตรียมปิดสัญญาณ 2G 900MHz หากไม่มีข้อยุติ

และมีข้อมูลจาก AIS เปิดเผยว่า ผู้ใช้ 2G บนคลื่น 900 MHz กว่า 10 ล้านเบอร์ ได้เปลี่ยนมาเป็นซิม 3G เกือบหมดแล้ว เหลือท้ายสุดอยู่ที่ 1.2 ล้านเบอร์ ซึ่ง AIS ได้จัดแจกโทรศัพท์เมื่อปลายปีก่อนและล่าสุด ทำให้ขณะนี้เหลือแค่กว่า 4 แสนเบอร์ ที่ยังไม่เปลี่ยนซิม ดังนั้นจึงไม่ได้มีผู้เดือดร้อนมากถึงกว่าล้านเบอร์ และการเลือกโรมมิ่งกับดีแทค ขนาดของคลื่นที่นำมาใช้สามารถรองรับผู้ใช้ 2G เดิม บนคลื่น 900 MHz ได้เพียงพอไม่น่ามีปัญหา

ที่มา ADSLThailand, Pantip 1 2

**ข้อมูลเรียบเรียงและภาพจาก ADSLThailand ได้มีการขออนุญาตใช้งานเรียบร้อยแล้ว**

Exit mobile version