เยือนถึงถิ่น KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) และรู้จัก FinTech for Future by KBTG
เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ทางธนาคารกสิกรไทย ได้จัดงาน KBTG with bloggers บนชั้น 11 ระหว่างเดินเข้าไปในอาคาร ได้เห็นบรรยากาศของการทำงาน บรรยากาศของ KBTG ชั้น 11 และพูดคุยกับ คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธาน KASIKORN Business-Technology Group และคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KASIKORN Business-Technology Group
โดยคุณธีรนันท์ ได้บอกเล่าให้ฟังว่า เขาทำงานแบงค์มา 28 ปี เข้าปี 29 ธนาคารมีการปรับโครงสร้าง ทำให้เขามีงานใหม่ เข้ามาดูแล Techlonogy Group ภายใต้แบรนด์ KBTG ย่อมาจาก KASIKORN Business-Technology Group ระหว่างการเดินทางขึ้นตึกมา เราได้เห็นสภาพต่างๆของอาคาร น่าสนใจมาก รักษาความปลอดภัยขั้นสูง ภายใต้สภาพแวดล้อมของธนาคาร ส่วนชั้น 11 ของอาคาร KBTG เป็นเหมือน Co-Working Space ที่แชร์ไอเดีย มี K-Stadium ให้พูดคุย นำเสนอโครงการ ไอเดียต่างๆ ตึกนี้เป็นคนที่ทำงานไอทีของแบงค์อยู่ ใครสนใจมีไอเดียอะไรก็ direct กับไอทีได้เลย ซึ่งผู้บริหารทั้งสองท่านอยู่ในวงการการเงินมานาน มีประสบการณ์มานาน หลายคนอาจจะได้เห็น ได้ยิน คำว่า Fintech มาบ้างแล้ว เอ๊ะ มันเหมือน Startup ไหม จริงๆ หลาย Startup ทำ Finalcial ครับ ดังนั้น Fintech ก็คือ Financial Technology นั่นเอง งานนี้ มีชื่อว่า Fintech for Future by KBTG
ทำไม ธนาคารกสิกรไทย ถึงได้จัดตั้ง กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ก็เพื่อที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงที่ใครๆก็สนใจเรื่องการเงิน ในงานจะมีบูธของ บริษัทด้าน Financial Technology ชมได้ในคลิปครับ
Fintech เป็นคำที่ได้เห็นเมื่อเร็วๆนี้ แต่จริงๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเกิดขึ้นจริงๆ ประมาณปี 2008 โดยปี 2008 มี 2 สิ่งเกิดขึ้น เจอ Financial Crisis ในตะวันตก ทำให้ธุรกิจการเงินได้รับความเคลื่อนไหว ปลายปี 2007 ต่อเนื่อง 2008 ทาง Apple เปิดตัว iPhone 3G ทำให้เกิดแอพมากมายมโหฬาร ทำให้โลกนี้มีแอพ Mobile Devices ต่างๆเกิดขึ้น เราได้ใช้ประโยชน์จากแอพ เมื่อ 2 สิ่งนี้เข้ามารวมกัน ทำให้ธุรกิจด้านการเงินเปลี่ยนแปลง นี่คือเฟสแรกของ Fintech 1.0 มี Financial ต่างๆ คล้ายๆ Startup ตอนนี้ อ่านแล้วสอดคล้องกับข่าว PR ที่บอกว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนไป ธนาคารก็มียุทธศาสตร์ทางธุรกิจเทคโนโลยี (Business-Technology) และด้วยความที่ ความต้องการของลูกค้านั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ (จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี นี่แหล่ะครับ) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมนำพาให้ธนาคารสามารถรับมือในทุกมิติจากการเปลี่ยนแปลง (Disruption Force) ให้สามารถแข่งขันได้กับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินในตลาดโลก นี่คือการขยับตัวของธนาคาร เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
Fintech ทั้งหลายเกิดขึ้นมา ทำเรื่องการเงิน จริงๆคนสนใจการเงิน การออมเงิน การเล่นหุ้น การทำบัญชี หลายๆบริษัทที่ทำเรื่องการเงิน ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไป Fintech จึงเกิดขึ้นมา สำหรับ Bank มีความน่าเชื่อถือ เรื่องความปลอดภัย ที่คนไว้วางใจ เชื่อถือได้ คนทั่วไปจึงไว้วางใจธนาคารให้เก็บเงินให้เรา ต่อมา Fintech 2.0 ยุคของการ ผสานกันระหว่าง Financial Industry กับ Fintech ที่เกิดขึ้นใหม่ ในต่างประเทศ Fintech เป็น Financial ที่ไม่ใช่ Bank แท้ๆ ธนาคารบอกว่า Fintech น่ากลัว หลายคนมี innovation มี technology ที่ Bank ไม่มี ทำให้ Bank ต้องปรับตัว
Quote ของ KBTG “เราคือ Partners ที่ทำให้ Fintech ประสบความสำเร็จ“
ธนาคารรตัดสินใจ ตั้ง Technology Group โดยรวมคนไอทีทั้งหมด 1,200 คน เอามาเป็นบริษัท 5 บริษัท กสิกรต้องเป็นแบรนด์ที่ Strong โมเดลของกสิกรไทย ช่วย Fintech ให้ประสบความสำเร็จ กสิกรฐานลูกค้าที่เป็น Mobile Banking ลูกค้ากลุ่มนี้แหล่ะครับ ที่พร้อมเรื่องเทคโนโลยีของธนาคาร ถ้า Fintech อยากทำอะไรก็มีลูกค้าของ Mobile Banking พร้อม 2 หมื่นคนที่จะเข้ามาใช้บริการ ถ้าใครมี Solution ทางการเงิน มาคุยกับธนาคารได้ มีโอกาส มีกลุ่มลูกค้าพร้อมสนับสนุน
KASIKORN Business-Technology Group ประกอบด้วย 5 บริษัท ได้แก่
โดย 5 บริษัท แบ่งกันดังนี้
บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกัด
ดูแลด้านวางแผน ติดตาม และให้การสนับสนุนการจัดการด้านการเงินและด้านบุคลากรของ KBTG รวมทั้งประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง KBTG และธนาคารกสิกรไทย
บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด
ค้นคว้าเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบดิจิทัล แบงกิ้ง และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งทำหน้าที่สร้างและทดลองระบบต้นแบบก่อนประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ของธนาคารกสิกรไทย
บริษัท กสิกร ซอฟต์ จำกัด
ออกแบบและสร้างระบบไอทีเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจและรองรับการนำนวัตกรรมมาใช้ในธนาคารให้มีความรวดเร็วและคุณภาพสูงสุด
บริษัท กสิกร โปร จำกัด
ดูแลการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบไอทีของธนาคารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
บริษัท กสิกร เซิร์ฟ จำกัด
ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของกลุ่มบริษัท ทั้งทางด้านการพัฒนา การทดสอบ และการปฏิบัติการระบบไอที
จุดหลักๆ ที่กสิกรไทยตั้ง KBTG ก็เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกการเงินใหม่ (Fintech – Financial Techology) จะว่าไป ธุรกิจธนาคารก็ปรับเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง Fintech กำลังมาแรงก็ชวนมาเป็นพันธมิตร ไม่ใช่มองเป็นคู่แข่ง
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปงาน Startup Thailand พอดี ก็เลยได้ชมบูธต่างๆ มี Fintech Sector ด้วยครับ
จุดประสงค์ของ KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) คือ มุ่งคิดค้นนวัตกรรม ร่วมพันธมิตรทางเทคโนโลยี และจับมือ FinTech และ Tech Startup สร้างนวัตกรรมทางการเงินรองรับดิจิทัล แบงกิ้งที่โตก้าวกระโดด ในงานมีการพูดถึง การเติบโตของ Internet Banking เมื่อ 10 ปีก่อน และพูดถึงการเติบโตของ Mobile กับ Mobile Banking
ข้อมูลของธนาคารกสิกรไทยพบว่า
- รายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัล แบงกิ้ง (โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต) ของธนาคารเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 168 ล้านรายการในปี 2554 เป็น 1,135 ล้านรายการในปี 2558 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,900 ล้านรายการใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2563)
- การใช้บริการผ่านช่องทางสาขาจะเพิ่มจาก 166 ล้านรายการในปี 2554 เป็น 188 ล้านรายการในปี 2558 อ่านถึงตรงนี้ ก็เห็นว่า คนยังไปธนาคารนี่ แต่ต่อไป คาดว่าจะลดเหลือประมาณ 153 ล้านรายการในปี 2563 เพราะคนมั่นใจมากขึ้น หันมาใช้ธนาคารบนมือถือมากขึ้น
- มูลค่าธุรกรรมที่ผ่านดิจิทัล แบงกิ้งก็เพิ่มจาก 9 แสนล้านบาทในปี 2554 เป็น 4 ล้านล้านบาทในปี 2558 และคาดจะเติบโตประมาณ 10 เท่าตัวเป็น 30 ล้านล้านบาท ในปีพ.ศ.2563 หรือ 5 ปีข้างหน้า
พอเราไม่ต้องไปธนาคาร ใช้ธนาคารได้บนมือถือ เหล่า Fintech ต่างๆก็พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology-FinTech) มาเสิร์ฟเราบนมือถือ เพราะเราไม่ต้องเดินทางไปธนาคารอีกต่อไป (แค่เปิดและปิดบัญชี) โอนเงิน ซื้อของ ใช้บนมือถือและผ่านเน็ต พวก Fintech ที่ทำด้านการเงินก็สะดวกเพราะเราไม่ต้องไปธนาคาร ตอนนี้ LINE Pay ก็ผูกกับธนาคารได้ ไม่ต้องใช้เงินสด
โจทย์ทางธุรกิจของ KBTG ในยุคของเทคโนโลยีการเงินที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงกระแสธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) และผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี (Tech Startup) ที่ได้นำนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการให้บริการทางการเงิน มาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวมกับธนาคาร ซึ่งธนาคารก็รับมือไว้แล้ว
นอกจากนี้ ในงานยังมีการพูดถึง แนวโน้มเทคโนโลยีที่ KBTG มองใน 5 ปีข้างหน้า ได้แก่
1. Internet of Things (IoT) คือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น ฯลฯ เข้าไว้ด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
2. World Class Design คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการในโลกยุคใหม่ที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก (User Experience Design-UXD)
3. Application Programming Interface (API) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งหรือช่องทางสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างซอฟต์แวร์หนึ่งไปยังอีกซอฟต์แวร์หนึ่ง รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างแอพพลิเคชั่นไปยังเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น กับระบบปฏิบัติการด้วย วัตถุประสงค์ก็เพื่อการเข้าถึงข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชั่น
4. Advanced Mobile Programming คือ แนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะสามารถอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานมากที่สุด
5. Blockchain คือ เทคโนโลยีที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจการเงิน เพราะนอกจาก Blockchain จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้สกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแล้ว หลายบริษัททั้งในและนอกธุรกิจทางการเงินยังเชื่อว่า Blockchain ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระเงินข้ามแดน ให้มีความรวดเร็วและตรวจสอบได้ และเทคโนโลยีที่
6. Machine Learning หมายถึงการที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น โดยเรียนรู้จากการกระทำ หรือสิ่งที่ทำไปก่อนหน้านั้นโดยใช้หลักการของปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรืออาจเป็นการเรียนรู้จากการถูกสั่งให้ทำ จากตัวอย่าง (example) หรือจากการเปรียบเทียบ (analogy) ก็ได้
KBTG ยังจะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในห้องแลปร่วมกับ Tech Giant ซึ่งเป็นบริษัทไอทีขนาดใหญ่ นอกจากนี้จะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองธุรกิจ FinTech และ Tech Startup ที่มีไอเดีย และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ การร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและการร่วมลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจเทคโนโลยีในโลกอนาคต พร้อมใช้จุดแข็งทางด้านนวัตกรรมของบริษัทเหล่านี้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น การสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น อาทิ ฐานลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคลของธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารยังมีปัจจัยสนับสนุนการทำธุรกิจของ Tech Startup ที่สำคัญ นั่นคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) ที่แข็งแกร่งและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงจะช่วยให้ Tech Startup มีศักยภาพมากขึ้นในการพัฒนาและขยายผลนวัตกรรมอย่างรวดเร็วในอนาคต
ตรงนี้เห็นด้วย กับธนาคาร เพราะแม้ Fintech มีไอเดีย มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี แต่ก็ยังไม่น่าเชื่อถือเท่าธนาคาร ธนาคารเข้ามาช่วยตรงนี้ก็อุ่นใจ เหมือนเวลาเราจ่ายเงินออนไลน์ตอนนี้ แล้วมีหน้าเด้งไปที่ธนาคาร เราก็อุ่นใจว่าธนาคารไหนจะดูแลเราตอนที่การโอนเงินมีปัญหา
อาคาร KBTG Building เวทีของทุกคนที่ KBTG มอง Fintech และ Startup เป็น Partners
อาคารแห่งใหม่ของธนาคาร สูง 11 ชั้น (เราไปชั้น 11) ภายในอาคารมีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการทำงานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และงานนวัตกรรมอีกด้วย
ชมภาพ อัพไว้บนเพจแล้วครับ