2 สัปดาห์ กับการใช้งาน ASUS ZenFone 3 (ZE520KL) มือถือหรู กล้องแจ่ม สแกนนิ้วได้
เปิดตัวอย่างฮือฮา กับ ASUS ZenFone 3 สมาร์ทโฟนเรือธงจาก ASUS ที่แยกย่อยซอยรุ่นออกเป็นหลายรุ่นด้วยกัน แนะนำรุ่นต่างๆ โดยรุ่นที่ได้รับมาทดสอบคือ ZE520KL มาพร้อมคอนเซปต์ “Built for Photography!” ที่อวดฟีเจอร์ถ่ายภาพ ขวัญใจช่างภาพ ซึ่งผมก็ออกตัวว่า เป็นมือสมัครเล่นมากๆ แต่กล้องรุ่นนี้ ทำให้คุณเทียบชั้นโปรได้เลยทีเดียว มาพร้อมหน้าจอ 5.2 นิ้ว RAM 4GB หน่วยความจำ 64GB รองรับ Fingerprint ด้านหลัง ใช้นิ้วชี้แตะ ปลดล็อคหน้าจอภายใน 0.2 วินาที กล้องหน้า 8MP, f/2.0 กล้องหลัง 16MP f/2.0 Auto Focus จับโฟกัสไว 0.03 วินาที ด้วย Laser Auto-Focus พร้อมกันสั่น และแฟลช Dual-LED real tone flash
ขออภัยเป็นอย่างสูง ตอนบันทึกวีดีโอหน้าจอ สับสนและพิมพ์ชื่อรุ่นในคลิปผิด จริงๆต้องเป็น ZE520KL แก้ไขหัวข้อวีดีโอแล้ว แต่ในคลิปผิดครับ
ทรวดทรงองค์เอว
แรกเห็น ASUS ZenFone 3 (ZE520KL) มากับความโลหะเงา หรู ความรู้สึกตอนจับถือ ถนัดมือ ไม่ลื่น สัมผัสได้ถึงวัสดุการออกแบบ ด้วยโลหะ แข็งแกร่ง ผสานกระจกและโลหะ แวววาวดุจเพชร หน้าจอ 5.2 นิ้ว 2.5D กันรอยขีดข่วน Corning Gorilla Glass ความละเอียด 1920 X 1080 Super IPS+ display มีความสว่างสูงถึง 600nits และขอบจอบางแนบชิดกับตัวเครื่อง 2.1 มิลลิเมตร มีอัตราส่วนหน้าจอ 77.3% เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง สวย หรู เงาวับแบบนี้ ได้รับรางวัล COMPUTEX d&i awards 2016 by iF
สิ่งแรกที่ประทับใจคือ งานประกอบดี แข็งแรง โลหะแบบจับแล้วรู้สึกถึงความแกร่ง บาง รับกับอุ้งมือได้ดี ASUS ZenFone 3 (ZE520KL) มาพร้อมกระจกกันรอย Corning® Gorilla® Glass ตัวเครื่อง บางเพียง 7.69 มิลลิเมตร มีการตัดขอบให้โค้งเข้ารับอุ้งมือ ขอบโค้งมน 0.18 มิลลิเมตร คือตัวหนังสือตามสเปคก็อ่านเอาแหล่ะครับ แต่ในด้านความรู้สึก ชอบตรงที่ว่า จับถนัดมือดี และไม่ลื่น ไม่ต้องกลัวร่วงหล่น ไม่หลุดมือแน่ๆเพราะจับถนัดและรับกับอุ้งมือมากๆ แถมจอ 5.2 นิ้วนี่ใช้งานมือเดียวก็โอเคอยู่นะ แต่ไม่รู้ใส่เคสจะเป็นยังไง ถ้าเป็น Cover คงบางพอดี ไม่หนา ผมว่าระดับนี้จับถนัดมือดี
สีจริงเป็นสีน้ำเงินเข้มแบบนี้ ขึ้นอยู่กับมุมการสะท้อนเงา โดยสีที่ได้รับมารีวิวคือ SAPPHIRE BLACK ออกสีน้ำเงินเข้ม สวย เงา (ชื่อ แซฟไฟร์ คือสีน้ำเงินแหล่ะครับ)
ด้านหลัง มีกล้อง เลนส์ยื่นนูนออกมา แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับการจับมือ ถัดมาเป็นแถบ Fingerprint ให้เราใช้นิ้วสแกนยืนยันตัวตน
วิจารณ์นิด
Fingerprint นี่อาจจะดูล้ำ มันมีทั้งข้อดีและข้อที่ควรพิจารณา ตอนใช้งาน ถนัดมือดี ใช้นิ้ว (ชี้) ปลดล็อคหน้าจอสะดวกดี แต่ตอนวางมือถือไว้บนโต๊ะแล้วกดมือถือเล่นแบบไม่หยิบมือถือขึ้นมาน่ะสิ ลำบาก เพราะเจ้าตัวสแกนนิ้วปลดล็อคหน้าจอมันอยู่ด้านหลัง ก็ต้องเคาะจอ 2 ครั้ง (ตั้ง Gesture ไว้) แล้วปลดล็อคหน้าจอด้วย pattern เหมือนเดิม อันนี้เจอหลายรุ่นที่สแกนนิ้วด้านหลัง ไม่สะดวกอย่างแรง ยิ่งชอบ วางมือถือบนโต๊ะ แล้วกดเล่น ไถเล่นซะด้วย อันนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแต่ละคนครับ
สเปค
- สี Sapphire Black / Moonlight White / Shimmer Gold
- ขนาด 146.87 x 73.98 x 7.69
- น้ำหนัก 144 กรัม แม้วัสดุจะเป็นโลหะ ก็ไม่ได้หนักจนรู้สึกได้ เพราะหน้าจอ 5.2 นิ้ว ถ้าจอใหญ่กว่านี้ อาจจะหนักอย่างรู้สึกได้
- Android™ 6.0 พร้อม ASUS ZenUI 3.0
- CPU: 64-bit Qualcomm® Octa-Core ProcessorSnapdragon™ 625 @2.0Ghz
- GPU: Adreno™ 506
- Dual SIM Dual Standby ใช้ 4G ได้ทั้ง 2 ซิม แต่จะต้องเลือกว่า ซิม 2 จะใส่ nano SIM หรือ microSD card โดยทั้ง 2 ซิม รองรับ 4G LTE แต่เลือกเพียงซิมเดียวจับสัญญาณ 4G LTE ได้ทีละซิม เสียดายตรงนี้
- หน้าจอ 5.2 นิ้ว แบบ FHD (1920×1080) IPS display
- มีฟังก์ชั่น Bluelight Filter for Eye Care ช่วยถนอมสายตา ทำให้มองจอแล้วสบายตา
- กระจก Corning® Gorilla® Glass2.5D องศาการมองจอ 178˚ wide-viewing angle
- ระบบสัมผัสหน้าจอ 10 นิ้วสัมผัสพร้อมกันได้ 10 จุด
- มี Fingerprint
- หน่วยความจำ รุ่นที่ได้มารีวิว คือ RAM 4GB
- หน่วยความจำ 64GB
- เพิ่ม Micro SD สูงสุด 2 TB
- มี Google Drive ฟรี 100GB (2 ปี)
- แบตเตอรี่ 2,650mAh (ถอดเปลี่ยนไม่ได้ แกะฝาหลังไม่ได้)
- ลำโพง 5 magnet speaker ให้เสียงดัง และดีขึ้น 40% ด้วย ASUS SonicMaster 3.0
- ไมค์เป็นแบบ Dual พร้อมเทคโนโลยี ASUS NoiseZero Talk Technology ให้เสียงคมชัด (แต่คุยตรงพัดลม เสียงลมก็เข้าไปอยู่ดี แต่ลมธรรมชาติคงช่วยได้ระดับนึง ลมพัดลมคงแรงไป ฮา)
- มีวิทยุ FM
- วีดีโอถ่ายภาพนิ่งได้ขณะถ่ายวีดีโอ ถ่ายวีดีโอ 4K ได้
รายละเอียด ZenFone 3
ในกล่อง สิ่งที่ให้มาด้วยคือ อแดปเตอร์ อันใหญ่พอสมควร และสาย USB Type-C ซึ่งตลอดการรีวิวผมต้องพกสาย เพราะเครื่องที่ใช้ประจำยังใช้ Micro USB อยู่เลย ส่วนหูฟังเป็นแบบ in-ear พร้อมจุกยางเสียบหูขนาดต่างๆให้ถอดเปลี่ยนได้
เจ้า USB Type-C เนี่ย ยังไม่แพร่หลาย จุดนึงคือคุณต้องพกมันไปทุกครั้งเพื่อใช้กับ Power Bank, Adaptor ชาร์จไฟ ครั้นจะต่อ เม้าส์ คีย์บอร์ด ก็ไม่มี USB OTG ที่เป็น USB Type-C อีกอันนี้ลำบากนิด วันก่อนไปทานข้าวกับเพื่อนๆ แบตมือถือหมด มี Power Bank แต่ไม่ได้พกสาย จบกัน เพื่อนๆก็มีแต่สาย Micro USB อันนี้ต้องพกสายตลอด เพราะหาคนใช้ USB Type-C ยังน้อยอยู่
มาดูผลทดสอบคะแนน Benchmark กันดีกว่า
CPU-Z
Antutu Benchmark v6.2.1
อันดับบน Antutu
Multitouch 10 จุด
คะแนนทดสอบ 3D Mark
Geekbench 3
การตั้งค่าซิม
การใช้งาน 2 ซิม ขั้นแรกจะต้องใส่ซิม (Nano SIM) โดยเลือกว่า ถาดซิมนึงเป็น ซิมหรือ Micro SD ใส่ได้ 2 ซิม ใช้งาน 4G ได้ทั้ง 2 ซิม แต่จะเลือกกำหนดให้ใช้งาน 4G ได้ทีละซิม
ในภาพ จะเห็นได้ว่า เราสามารถกำหนด การโอนสายโทร Call Forwarding ได้ ตอนที่เปิด Dual SIM Dual Standby ได้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบ้านเราจะต้องรองรับ แต่บ้านเราไม่รองรับ (ลองแล้ว) ส่วนการตั้งค่า ซิม 1 / 2 โทรออก รับสาย รับส่ง SMS เล่นเน็ต ก็สามารถตั้งค่าได้ตามต้องการ
สำหรับมือใหม่ ZenFone มีการนำเสนอแอพแนะนำให้ดาวน์โหลดได้ง่ายมากๆ (แนะนำควรต่อ Wi-Fi)
Game Manager
ความเจ๋งเวลาเรารันเกม จะมี Game Manager โผล่ขึ้นมา
Gamer Manager เหมาะกับคนเล่นเกม เพราะมีตัวปรับแต่งเครื่อง เพิ่มสปีด Speed Booster สำหรับการเล่นเกมให้ลื่นขึ้น อันนี้ยังเฉยๆ แต่ที่เจ๋งคือ จับภาพหน้าจอเป็นวีดีโอเพื่อ Cast Game ได้เลย ตอนเปิด Pokemon GO ก็มีตัวเลือก เด้งขึ้นมาให้เลือก เป็นไอคอนเกม
ตรงนี้ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง สาธิตกับ Pokemon GO แหล่ะ
กดตรงปุ่มกลมๆ สีแดง จะเด้งขึ้นมา 4 ตัวเลือก คือ
Speed Booster – เพิ่มสปีดความเร็ว ปิดแอพรัน background
Live & Record – ถ่ายทอดสดการเล่นเกม หรือ Cast เกมบน YouTube และ Twitch
Search – ค้นหาทิป เทคนิค ในการเล่นเกม
Share – แชร์ภาพ และวีดีโอ
Setting – ตั้งค่า เอาไอคอนเกมสีแดงออกได้ เลิอก Auto Start Game Manager ออกได้
ASUS ZenUI 3.0 : UI บน ASUS ZenFone 3 (ZE520KL)
หน้าตา ไอคอน การโทร
(ภาพซ้าย) ปุ่มตัวเลขขณะสนทนา (ภาพขวา) ปุ่มตัวเลขกดเบอร์โทร
หน้าตาขณะสลับแอพ Task Manager ปิดแอพที่ไม่ได้ใช้งาน (กดปุ่มขวาสุด เพื่อปิดแอพทั้งหมด ปิดเฉพาะแอพ ปัดไปด้านข้าง หรือกด กากบาท) ตรงกลาง Pin หน้าจอ ขวาสุด ดูว่า แต่ละแอพ ใช้หน่วยความจำเท่าไหร
ตัวจัดการระบบ Mobile Manger เคลียร์แรม เคลียร์ไฟล์ขยะ สมัยนี้มีติดมาให้ทุกเครื่อง ทุกยี่ห้อ
การเชื่อมต่อ
Wi-Fi รองรับ 2.4GHz และ 5GHz ขึ้นอยู่กับเร้าเตอร์ด้วย
ถ่ายโอนไฟล์ผ่าน Wi-Fi ไม่ง้อสาย
ถ้าเอาสาย USB Type-C ต่อคอม จะมีหน้าต่างให้เลือก หากเลือก File Transfer สามารถติดตั้ง ASUS Share Link เพื่อเชื่อมต่อมือถือกับ PC ได้
ติดตั้ง ASUS Share Link บนคอม (เมื่อเสียบมือถือกับคอมจะมีไดร์ว CD โผล่มาให้เรากดติดตั้งได้เลย)
บนมือถือ ก็ติดตั้งแอพ Share Link
เมื่อติดตั้ง ASUS Share Link บนคอม (Windows) แล้ว ติดตั้งแอพบนมือถือ จากนั้นต่อ Wi-Fi วงเดียวกัน เราแค่เลือก Send กับ Receive
ง่ายมากๆ ไม่ต้องต่อสาย ไม่ต้องเปลืองเน็ตส่งไฟล์ เพราะรับส่งไฟล์ผ่าน Wi-Fi
ใช้โอนถ่ายไฟล์ได้สะดวกดี ไม่ต้องใช้สาย แค่ต่อ Wi-Fi วงเดียวกัน กด Receive บนคอม แล้วกดแชร์บนมือถือ เพื่อส่งไฟล์จากมือถือเข้าคอมได้ง่ายมากๆ
Kids Mode & Easy Mode
สำหรับใครที่กำลังมองว่า ZenFone 3 จะให้เด็ก หรือผู้อายุใช้ แนะนำ Easy Mode และ Kids Mode
แบตเตอรี่
ใช้แบตกันแบบจริงๆ จังๆ ตั้งแต่เช้าตรู่ ตี 5 วันนี้ไป สมุทรสาคาร บางขุนเทียน เล่น Pokemon GO ใช้ Facebook LINE โทร Browser ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ อัพบน Facebook ใช้งานตลอด (ตามภาพ ตอนบ่าย 2 กว่า แบตใกล้หมดแล้ว) แบตหมดตอนไหนไม่ได้ดู รู้แต่เครื่องดับไปเลย ทั้งนี้ระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับ การตั้งค่าความสว่างหน้าจอ (ตั้งแบบออโต้ บางช่วงก็ดึงความสว่างขึ้นมาเอง) ยิ่งช่วงไหนไปหลายที่ แบตหน้าจอไว้ตลอดอีก แบตยิ่งหมดไวครับ แต่ถ้าถามว่า ปกติแล้ว ใช้งานได้ครบวันหรือเปล่า ใช้ได้ครบวันครับ อันนี้อาจจะใช้โหดไปนิด อีกอย่างเปิด Hotspot ด้วย ตั้งแต่เช้า
กล้อง
มาพร้อมเทคโนโลยี PixelMaster 3.0 จับโฟกัสได้ไว แม่นยำ กล้องหลังความละเอียด 16MP มีขนาดช่วงกว้างเลนส์ f/2.0 ตรวจจับการเคลื่อนไหวของวัตถุ ด้วยเทคโนโลยี TriTech auto-focus จับโฟกัสวัถตุเพียง 0.03 วินาที มีกันสั่นทั้งแบบ optical และ electronic คมชัดไม่มีเบลอทั้งภาพและวีดีโอ เซ็นเซอร์รับภาพ สมจริง ให้สีสันสมจริง เหมือนจริง เหมือนธรรมชาติ เซ็นเซอร์กล้อง Sony IMX298 ถ่ายวีดีโอ 4K เซ็นเซอร์ ƒ/2.0 aperture OIS และ EIS ทั้งภาพและวีดีโอ ปกป้องเลนส์ด้วย วัสดุ Sapphire lens protection เลนส์ไม่ขีดข่วนแน่นอน พร้อมโหมด Super Resolution ความละเอียด 64MP
ตัวอย่างภาพถ่าย (ส่วนตัวอย่างภาพ Slow Motion, Gif อยู่ในคลิป)
ชมตัวอย่างภาพถ่ายความละเอียดเต็มบน Google Photos
การถ่ายภาพโหมดต่างๆ
โหมด Gif Animation ถ่ายภาพ 50 ภาพรัวๆ ต่อเนื่อง ปรับความเร็วช้าของความเคลื่อนไหวได้ (ภาพข้างล่างเป็น Screen Capture ชมภาพเต็มบน Link ด้านบน)
(ดูตัวอย่างภาพในคลิปด้านบน)
โหมด Miniature ทำภาพชัดตรงกลาง (ภาพข้างล่างเป็น Screen Capture ถัดไป เป็นภาพถ่ายจริง)
ถ่ายวิวทั่วไป แสงแดดจ้า ช่วง 10 โมงวันเสาร์ โหมดออโต้
กลางคืน
ถ่ายอาหาร HDR
HDR ตอนกลางคืน ร้านสมพงศ์ เลียบด่วน
Lowlight แสงน้อย ความละเอียดจะลดลงเหลือ 4MP
Panorama (ทุกภาพ ชมภาพเต็ม link ด้านบน)
Selfie
โหมด Super Resolution (ดูภาพเต็มที่ Link ด้านบน)
ตัวอย่างภาพ Slow Motion ดูที่นี่
ตัวอย่างการถ่ายวีดีโอ 4K (คลิปนี้ขอเน็ตแรงนิดนึงครับถ้าจะดูความละเอียด 4K)
ในคลิปถ่ายวีดีโอ 4K แต่เลือกการถ่ายเป็น 60Hz ทาง ASUS ก็เลยแนะนำว่า ให้ปรับ Anti-Flicker เป็น 50Hz จะทำให้ได้ภาพที่เนียนกว่า
สรุป
ZenFone 3 (ZE520KL) ครบเครื่องทั้งการถ่ายภาพ การใช้งาน การถ่ายวีดีโอ 4K ทำ Facebook Live น่าสนใจมากๆ มีสแกนลายนิ้วมือปลดล็อกหน้าจอไวมาก ชอบมาก ถือเป็นเครื่องหลักร่วม 2 สัปดาห์ คุ้มจริงๆครับ