จำเป็นไหมที่ต้องใช้ Antivirus และควรเลือกใช้แบบไหนดี

เราเป็นคนใช้คอมมาตั้งแต่ Windows 3.11 จนมา Windows 95 ซึ่งจริงอยู่ว่าคอมที่เราใช้ในยุคแรกๆ เรามองหา Antivirus เอาไว้ใช้งาน เอาไว้ป้องกันไวรัสจากแผ่นดิสก์ แฟลชไดร์ว และการเข้าเว็บต่างๆ แต่เมื่อสมาร์ทโฟน ได้รับความนิยมมากขึ้น แอปเยอะขึ้น และการช้อปออนไลน์ได้รับความนิยมถึงขีดสุด ในขณะที่ข่าวการแฮก Facebook, IG, LINE นั้นทำให้เรามองหาเกราะป้องกันความปลอดภัยบนมือถือด้วย ดังนั้น ณ วันนี้ Antivirus ก็ยังจำเป็น เพราะภัยไซเบอร์ ก็มีการปรับตามยุคสมัยและพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ และเราควรมองหา Antivirus ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละคน

(บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Bitdefender Thailand)

จากเมื่อก่อนที่มีไวรัสผ่านแผ่นดิสก์ ต่อมาก็มี มัลแวร์ และแรนซั่มแวร์ [Ransomware] โดยหลักๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์ Antivirus นั้นจะมีสำหรับ Home User หรือผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป และสำหรับใช้งานตามออฟฟิศ องค์กร บริษัทต่างๆ หรือแม้แต่ธุรกิจ SME จนถึงโซลูชันระดับองค์กรใหญ่ๆ

เห็นมี Antivirus หลายรุ่นมาก เลือกยังไงดี?

เลือกตามการใช้งาน หลักๆ Home User จะมีการรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น ไปจนถึงระดับสูง

ซึ่งถ้ามองแบบง่ายๆ เห็นชื่อ Total Security คือครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยแบบ All-in-One ใช่ไหมครับ

รุ่นไหนเหมาะกับใคร?

Bitdefender

ตอนนี้เราใช้ทั้งคอม มือถือ แท็บเล็ต งั้นถ้าใช้ทั้งบ้านเนี่ย เลือก Bitdefender Internet Security ไปเลยดีกว่า ใช้กับ iOS, Android และ Mac ได้ด้วย ป้องการการโจรกรรม ซึ่งรุ่น Antivirus Plus เนี่ยก็พอใช้ได้ทั่วไป แต่ถ้าจะให้ครอบคลุม จัดรุ่น Internet Security ขึ้นไปจะดีกว่า

โดย Antivirus สำหรับ Home-User ก็จะมี แถมมากับ PC หรือ Notebook ที่ซื้อมาใหม่ อาจจะเป็น 1 – 2 ปี หรือไม่ก็หาซื้อใช้เอง หรือบางที พ่วงมากับ SD Card, Micro SD Card ที่วางขายก็เคยเห็นอยู่

ซึ่งพฤติกรรมผู้ใช้ตามบ้านก็มีทั้ง เล่นเกม เล่นเน็ต ทำงานบ้าง ช้อปปิ้งออนไลน์ และทำธุรกรรมออนไลน์

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์สำหรับ “Business User” เนี่ย เราไม่ต้องกังวล เพราะถ้าเป็นของบริษัท ฝ่ายไอทีเขาก็ดูแลกับฝ่ายจัดซื้ออยู่แล้ว จะมี Bitdefender GravityZone สำหรับ SME ในการใช้งานบนเครือข่ายเล็กๆ ไม่กี่คน ใช้งานง่ายๆ ส่วน Enterprise คือเครือข่ายขนาดใหญ่ บริษัทใหญ่ มหาชน

สมัยเราใช้คอมยุคแรกๆ ไวรัสมาจาก Floppy Disk, USB Flash Drive หรือแม้แต่ CD, DVD ที่อาจติดไวรัสมาจากเครื่องที่ไรท์แผ่นได้ แต่ ณ วันนี้ ภัยมาจากออนไลน์ มาจากอินเทอร์เน็ต หลักๆ แล้วภัยมาจาก ไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์ รูทคิท โทรจัน การโจมตีแบบฟิชชิ่ง การโจมตีด้วยสแปม และการคุกคามทางไซเบอร์ออนไลน์ โอ๊ยยย ภาษาอะไรเนี่ย อ่านไม่รู้เรื่องเลย บล็อกนี้จะไม่ใช้ภาษาเทคนิค อยากให้เข้าใจง่าย งั้นเรามาทำความรู้จักกับการป้องกันภัยแบบต่างๆ ในแบบเข้าใจง่าย

ไวรัสจะมีได้ไง ในเมื่อเราไม่ได้ทำอะไร เราไม่มีข้อมูลอะไรสำคัญสักหน่อย

อย่าลืมว่า ตอนนี้เรามีการผูกบัตรเครดิต ผูกบัญชี และทำธุรกรรมธนาคารและ e-Wallet ผ่านมือถือ และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ App Store หรือบริการโฆษณาบน Facebook ดังนั้นเราต้องป้องกันภัยจากคนที่ไม่รู้จักไม่ให้มายุ่งกับเครื่องเรา เพราะตอนนี้ อีเมล์สำคัญมาก ถ้าเกิดโดนแฮกไป สามารถถูกนำไปใช้เข้าบัญชี Facebook, LINE, IG เราได้เลย ทำให้เราเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือถูกเข้าใจผิด รวมไปถึงเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ จนไปถึงทำธุรกรรมธนาคาร

รู้ไหมว่า ตอนนี้แม้มีกล้อง WebCam ใช้ตามบ้าน ทั้งต่อคอมและโน๊ตบุ๊ก ก็มีโปรแกรมที่แอบเปิดกล้อง WebCam เราได้ด้วยนะ ซึ่งเราควรป้องกันไว้ด้วย (รุ่น Internet Security ขึ้นไป)

ไวรัสและสปายแวร์

แปลง่ายๆ คือเจออะไรแปลกๆ สปาย คือแฝงตัว ซ่อนตัว แอบ ปลอมตัว มันต้องมาไม่ดีแน่ๆ ซึ่ง Antivirus มีหน้าที่หลักในการตรวจหาไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์ และภัยคุกคามที่ไม่รู้จักอื่นๆ ถ้าเราเจอและลบออกไปก่อนที่จะสูญเสียข้อมูลหรือทำลายระบบของเรา ก็ทำให้เราปลอดภัย

การโจมตีแบบฟิชชิ่ง [phishing] 

คำว่า ฟิชชิ่ง [phishing] แปลง่ายๆ คือตกปลา ตกเบ็ดเหยื่อ หมายถึง มีการปลอมหน้าเว็บธนาคารให้เหมือนมากๆ แล้วเราหลงเชื่อหรอกข้อมูลบัตรเครดิต user / password ธนาคารไป ก็เท่ากับมอบข้อมูลคนร้ายแล้ว ดังนั้นถ้ามีการป้องกันฟิชชิ่ง ก็จะช่วยได้ ดูรายละเอียดฟิชชิ่งจากเว็บไซต์ Wikipedia

ปัจจุบัน Browser ต่างๆ มีระบบป้องกัน phishing อยู่แล้ว แต่หลายครั้ง phishing มาพร้อมอีเมล์ แล้วเราดันหลงเชื่อ หรือกดบนมือถือไม่ทันพิจารณาให้รอบคอบ ก็ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย

กิจกรรมบนเว็บที่สุ่มเสี่ยง

อย่างที่เราพอจะรู้ว่า เว็บไซต์มีหลายประเภท หากเข้าเว็บไซต์ประเภทที่เรารู้กัน ย่อมเสี่ยงภัยกับระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจะควบคุมกิจกรรมบนเว็บ จำกัดการเข้าถึงภัยคุกคามออนไลน์ใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต

ป้องกันภัยคุกคามจากการเสียบ USB Flash Drive ต่างๆ อันนี้จำเป็น ส่วน Firewall ใช้คำนี้อาจจะเข้าใจยาก เอาง่ายๆ คือตรวจสอบข้อมูล/จดหมายขาเข้า และขาออก ผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีอะไรน่าสงสัยก็ Block

บล็อกโฆษณาและเว็บไซต์สแปม

พวก Pop-Up บน Browser ป้องกันการขโมยข้อมูลลับจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน อันนี้ถ้าใกล้ตัวเราก็พวกแบนเนอร์ที่เราไม่ได้กด แต่เสียเงินสมัคร SMS ไปที่เราไม่ได้กดสมัครเอง

การป้องกันรหัสผ่าน

คุณสมบัติป้องกันด้วยรหัสผ่าน ช่วยปกป้องจากการถูกขโมยข้อมูลโดยบุคคลที่สาม หรือแฮ็กเกอร์ได้

การควบคุมโดยผู้ปกครอง

อันนี้ผู้ใช้ตามบ้าน ที่มีครอบครัว มีเด็กๆ น่าจะสนใจ เพราะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบสำหรับผู้ปกครอง เพื่อตรวจสอบกิจกรรมที่ลูก ๆ ของพวกเขากำลังทำบนมือถือและคอมพิวเตอร์ของพวกเขา

BITDEFENDER TOTAL SECURITY 2019

ของแท้ ราคาเป็นยังไงแพงไหม หารกันได้หรือเปล่า?

เมื่อ 8 – 9 ปีก่อน ผมรู้จักเพื่อนๆ ในแวดวงไอทีด้วยกัน ก็มีการ “หาร” ค่า Antivirus ของแท้กัน โดยปกติจะมีขายแบบ 3 Uses เช่น 1500 บาท ก็หารกัน 3 คน ตกคนละ 500 บาทต่อปี ประมาณนี้ ทำให้เราได้ใช้ของแท้กันแบบไม่ต้องหันไปใช้ของเถื่อน เพราะด้วยความปลอดภัยแล้ว ของเถื่อนก็ยิ่งนำความเสี่ยงมาให้เรา

Bitdefender Total Security 2019

ยิ่งถ้าใช้ ของแท้ หารกันคนละ 300 กว่าบาท (ต่อปี) ใช้ได้ 5 คน

โปรแกรมสแกนไวรัสดีที่สุด

สำหรับการซื้อ Antivirus สมัยนี้ ก็คือการซื้อ License Key ครับ โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งแบบทดลองใช้ (Trial) แล้วซื้อ Key มาใช้งานได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ซื้อเป็นแผ่น CD / DVD ตอนนี้โหลดตัว Trial จากเน็ต แล้วซื้อ Key แท้มาใช้ครับ

Bitdefender

และนี่ก็คือเรื่องราวของแอนตี้ไวรัส ได้รับการสนับสนุนจาก Bitdefender ครับ และถ้าผมใช้ Bitdefender Internet Security สักระยะแล้ว เดี๋ยวบทความตอนหน้า จะมาบอกเล่าประสบการณ์ใช้ Antivirus บนมือถือกันบ้าง

สนใจ ศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ที่ https://www.bitdefender.co.th