มองภาพรวมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ 3 โอเปอร์เรเตอร์ในไทย ไตรมาสแรกของปี 2021 ผ่าน Opensignal

ปกติแล้ว เรามักจะเห็นเครื่องมือวัดความเร็วอินเทอร์เน็ต 3 ตัวหลักๆ คือ Ookla เป็นบริการ Speed Test ซึ่งวัดจากผู้ใช้งาน และ nPerf ซึ่งวัดค่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ รวมไปถึง Speed Test การดาวน์โหลด อัปโหลด การดูวีดีโอ สตริมมิ่ง โดยวัดจากผู้ใช้งานเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอีกเครื่องมือ คือ Opensignal ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้วัดจาก Speed Test แต่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้งานอุปกรณ์กว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก โดยมาจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนจริง รายงานจากประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายจริง โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวม ได้มาจากการทดสอบอัตโนมัติที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นจึงสะท้อนคุณภาพการให้บริการของผู้ให้บริการโดยตรง ไม่ได้มาจากผู้ใช้กด Speed Test อ้างอิง

ล่าสุด ทาง Opensignal ได้วิเคราะห์และสะท้อนคุณภาพการใช้งานเครือข่ายมือถือในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 มีนาคม 2564 กับ “รายงานประสบการณ์การใช้เครือข่ายมือถือ พฤษภาคม 2564

ต้องบอกก่อนว่า ข้อมูลนี้ทาง PR ของ OpenSignal ส่งมาให้ ก็เลยเอามาย่อยให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ถ้าตามจริงแล้ว ในแต่ละการทดสอบ (รอบก่อนคือ พฤศจิกายน 2563) แต่ละค่ายต่างชูมือเป็นผู้ชนะ แต่ในรอบนี้ มี AIS และ TrueMove H ที่ได้รับรางวัล โดย TrueMove H คว้ารางวัลประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด ที่รอบก่อนเคยเป็นของ DTAC ทำให้ TrueMove H ได้รางวัลประสบการณ์ความเร็วถึง 2 รายการ ในขณะที่ AIS ยังคงครองรางวัลในด้านเครือข่าย 4G ถึง 2 รางวัล ได้แก่ ความพร้อมใช้งาน 4G และประสบการณ์ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย 4G

ถ้าเอาตามจริง ทุกวันนี้เราดูวีดีโอ ทั้ง tiktok, youtube โดย TrueMove H ครองรางวัลประสบการณ์รับชมวิดีโอ และ AIS คว้ารางวัลด้านประสบการณ์เกมมือถือ และประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง

ทั้งนี้ ผลทดสอบเป็นเพียง 1 ปัจจัยที่สะท้อนคุณภาพของเครือข่าย แต่ประสบการณ์จริง ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้บริการ และตัวเครื่องที่จับสัญญาณด้วย ผลทดสอบของ OpenSignal ไม่ได้บอกว่าอะไรดีกว่าอะไร แต่มองในแง่มุมต่างๆ ของเครือข่าย

ข้อดีของ Opensingal ไม่ได้วัดแค่ความเร็วสปีดของผู้ใช้ แต่วิเคราะห์ประสบการณ์เครือข่ายมือถือจากผู้ให้บริการทั้ง 3 รายในประเทศไทย ได้แก่ AIS, DTAC และ TrueMove H ในช่วงเวลา 90 วัน ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 มีนาคม 2564 เพื่อดูการปฏิบัติงาน และยังวัดประสบการณ์ของผู้ใช้ในภูมิภาคต่าง ๆ อีก 7 ภูมิภาคของประเทศ  และใช้การชี้วัดแบบ 5G เพิ่มเติมจากเทคโนโลยีเครือข่ายมือถือรุ่นก่อนในการกำหนดคะแนนรวมของแต่ละรางวัล

 

ด้านความเร็วในการ Download / Upload >> TrueMove H คว้าทั้ง 2 ส่วนนี้ไป

Opensignal download

รายงานฉบับก่อน dtac ชนะในส่วนของการดาวน์โหลด แต่รอบนี้ ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดของ TrueMove H เพิ่มขึ้นกว่า 60% ด้วยความเร็วที่ต่างกว่าถึง 5.3 Mbps (52.6%) รอบก่อนนั้น TrueMove H ช้ากว่า DTAC อยู่ 0.8 Mbps แม้จะต่างกันไม่มากนัก แต่ดูในกราฟน่าจะเห็นความชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นผลจากคะแนนประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดของ TrueMove H ที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.9 Mbps (62.6%) เทียบกับความเร็วที่ลดลง 0.2 Mbps ของ DTAC

จากภาพจะเห็นได้ว่า กราฟสีแดงพุ่งแรง ห่างจากสีเขียวเกือบครึ่ง

ในส่วนของการ Upload นั้น TrueMove H คว้ารางวัลประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด แซงอันดับที่ 2 อย่าง AIS ไปด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 1.3 Mbps เป็น 3.1 Mbps ซึ่งเป็นเพราะความเร็วในการอัปโหลดของ TrueMove H เพิ่มขึ้น 1.2 Mbps (17.9%) ขณะที่ทางด้าน AIS ลดลง 0.6 Mbps (11.2%) ส่วนค่าเฉลี่ยประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดที่ผู้ใช้ DTAC ได้รับนั้นเพิ่มขึ้น 0.1 Mbps (3.1%) แต่ก็ยังช้ากว่าเครือข่าย TrueMove H อยู่ 2.4 เท่า และตามหลัง AIS อยู่ 1.4 Mbps

ความพร้อมใช้งาน 4G ของผู้ใช้ชาวไทยเพิ่มขึ้นกว่า 90%

AIS คว้ารางวัลความพร้อมใช้งาน 4G คะแนนเพิ่มขึ้น 1.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 94.7% ขยับเข้าไปใกล้ 95% มาก ส่วนคะแนนของ DTAC และ TrueMove H นั้นก็เพิ่มขึ้น 2.2 และ 0.8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คิดเป็น 92.5% และ 90.7%

สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ใช้ในประเทศไทย ใช้เวลากว่า 90% เชื่อมต่อ 4G กับเครือข่ายใดก็ได้ แต่ AIS ยังคงรักษารางวัลประสบการณ์ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย 4G เอาไว้ได้ด้วยคะแนน 9 เต็ม 10 (เพิ่มขึ้นมา 0.2 คะแนน) ตกลงจาก 0.6 คะแนนมาเป็น 0.5 คะแนน โดยรองแชมป์อย่าง TrueMove H นั้นได้คะแนนเพิ่มขึ้น 0.3 คะแนน

ประสบการณ์มือถือในเขตกรุงเทพมหานครมีผลต่อแนวโน้มการใช้งานในประเทศ

รายงานก่อนหน้านี้ AIS คือผู้ให้บริการที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้ TrueMove H ยืนหนึ่งคว้ารางวัลด้านประสบการณ์รับชมวิดีโอ ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดและการอัปโหลดในเขตกรุงเทพฯ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในพื้นที่ของผู้ให้บริการ

ช่วงคะแนน อ้างอิงจาก opensignal ระบุว่า 55 < 65 ดี:  ประสบการณ์ไม่คงที่สม่ำเสมอ แม้ว่าจะเป็นวิดีโอที่มาจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิดีโอความคมชัดสูง ประกอบกับใช้เวลาในการโหลดนานจนสังเกตได้ชัด และวิดีโอหยุดนิ่งเป็นเรื่องปกติ

AIS ได้รับคะแนนสูงสุดด้านประสบการณ์เกมมือถือและประสบการณ์การสื่อสารด้วยเสียง ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ชนะร่วมกับ DTAC ในด้านความพร้อมใช้งาน 4G เท่านั้นก็ตาม (ซึ่งเป็นระดับประเทศ) ดูเกณฑ์คะแนนเกม

การวิเคราะห์ระดับภูมิภาค

สอดคล้องกับระดับประเทศที่ TrueMove H และ AIS ชนะรางวัลระดับภูมิภาค โดยได้รับรางวัลรายละ 21 และ 18 รางวัลตามลำดับ จากทั้งหมด 42 รางวัล อย่างไรก็ตาม DTAC เป็นผู้ชนะร่วมคู่กับ AIS ในด้านความพร้อมใช้งาน 4G ในสามภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันตกและเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาคที่เหลือ AIS เป็นผู้ครองชัยชนะแต่เพียงผู้เดียว สัดส่วนของเวลาที่ผู้ใช้ AIS ใช้ในการเชื่อมต่อ 4G นั้นอยู่ระหว่าง 96.2% ในกรุงเทพมหานครกับ 92% ในภาคตะวันตก คะแนนความพร้อมใช้งานของ 4G ของ DTAC นั้นตกลงไปต่ำกว่า 90% ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้โดยที่ TrueMove H ก็มีคะแนนต่ำกว่าระดับเดียวกันนี้ และยังรวมถึงภาคตะวันตกอีกด้วย (แต่ต่ำกว่าเพียงแค่ 0.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น)

จากผลการทดสอบ เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ประสบการณ์ใช้งานจริง ขึ้นอยู่กับ แพ็กเกจ พื้นที่ให้บริการ อุปกรณ์ที่ใช้งาน แต่อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลสะท้อนคุณภาพอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการแต่ละราย แต่ทั้งนี้ ควรเลือกค่ายมือถือ สัญญาณเน็ต ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ ที่เราใช้งาน เน้นอัปโหลด เน้นดาวน์โหลด เน้นเล่นเกม เล่นดูวีดีโอ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น คนดูวีดีโอ Live สดใช้ True คนเล่นเกมใช้ AIS เป็นต้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับสัญญาณแต่ละพื้นที่ด้วยเช่นกัน การครอบคลุมสัญญาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ

อ่านและดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มนี้ได้ที่

https://www.opensignal.com/th/reports/2021/05/thailand/mobile-network-experience