April 6, 2025
TRUE CBS

ทรู เดินหน้ารับมือภัยพิบัติ! รายแรกติดตั้งระบบเตือนภัย Cell Broadcast ครบทุกสถานีฐานทั่วประเทศ เร่งเสร็จก่อนกำหนด พร้อมใช้งานแล้วทันทีเมื่อได้รับคำสั่ง

แจ้งเตือนฉุกเฉินรวดเร็ว ส่งเสียง-ข้อความขึ้นหน้าจอทันที รองรับ 5 ภาษา ไม่ต้องโหลดแอป

ทรู เผยเป็นเอกชนรายแรกที่พร้อมรองรับการเชื่อมต่อระบบเตือนภัยพิบัติ Cell Broadcast Service (CBS) ได้ทั่วประเทศ ซึ่งเบื้องต้นมีแผนจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จึงเร่งติดตั้งให้เร็วขึ้น โดยขณะนี้ได้เสร็จสมบูรณ์ติดตั้งอุปกรณ์อัปเกรดเปิดฟังก์ชั่นครบทุกเสาสัญญาณแล้ว ทำให้สามารถกระจายข้อความเตือนภัยฉุกเฉินแบบ Cell Broadcast ผ่านเครือข่ายเสาสัญญาณ 4G และ 5G ส่งไปยังอุปกรณ์มือถือทุกเครื่องที่อยู่ในพื้นที่ที่ต้องการเตือนภัยได้พร้อมกันในช่วงเวลาอันสั้น ซึ่งหากมือถืออยู่ในโหมด sleep หรือ standby เปิดเครื่องไว้แต่ไม่ได้ใช้งานอยู่ ก็จะมีทั้งสัญญาณเสียงและข้อความแสดงขึ้นบนหน้าจอโทรศัพท์ (Pop Up Notification) โดยไม่ต้องโหลดแอปพลิเคชันใดๆ รองรับ 5 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ซึ่งทันทีที่ได้รับคำสั่งจากทางภาครัฐ ทรูพร้อมที่จะดำเนินการกระจายข้อความผ่านระบบ CBS เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้ซิมทรูและดีแทคได้รับข้อความเตือนเพื่อความปลอดภัย

นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นล่าสุด ทำให้เห็นว่าการเตือนภัยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย ล่าสุด ทรู เป็นเอกชนรายแรกที่ขณะนี้ได้ติดตั้งฟังก์ชั่น Cell Broadcast Service ครบทุกเสาสัญญาณ 4G, 5G ทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการเร่งติดตั้งให้เร็วกว่าแผนเดิมที่ตั้งไว้ว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งการสั่งการจากนายกรัฐมนตรี จึงเร่งติดตั้งให้เร็วขึ้น โดยขณะนี้ได้เสร็จพร้อมแล้ว โดยฟังก์ชั่นที่ติดตั้งประกอบด้วยการบริหารระบบและการตั้งค่า(System & Configuration), การส่งต่อข้อความสื่อสารที่ได้รับมาผ่านโครงข่าย ( Message Deployment Function) และการบริหารโครงข่ายสื่อสาร ( Network Management) สำหรับระบบ Cell Broadcast Service นี้เป็นแผนงานที่ริเริ่มโดยภาครัฐ นำโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงสำนักงาน กสทช. ที่สนับสนุนงบประมาณผ่านกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมหรือกองทุนกทปส. (USO) โดยที่ผ่านมาได้มีการร่วมทดสอบระบบเสมือนจริงในพื้นที่สำคัญหลายแห่งทั้งที่สำนักงานใหญ่ทรู คอร์ปอเรชั่น กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม และที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่และเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา และจากความพร้อมทั้งหมดของทรู คอร์ปอเรชั่นขณะนี้ ทำให้เราจะสามารถดำเนินการได้ทันทีที่ได้รับคำสั่งจากทางภาครัฐ”

สำหรับระบบ Cell Broadcast Service นี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

ภาครัฐ : โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะเป็นศูนย์บัญชาการกลาง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเตือนภัย หรือ Cell Broadcast Entity: CBE ที่ต้องกำหนดเนื้อหาและพื้นที่ในการจัดส่งข้อความ ที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ อาทิ การบริหารจัดการระบบ (Administrator) การจัดการข้อความที่จะสื่อสาร (Message Creator) และการอนุมัติยืนยันความถูกต้อง (Approver)

ภาคเอกชน : โอเปอเรเตอร์จะทำหน้าที่เป็น Cell Broadcast Center: CBC ซึ่งมีหน้าที่นำเนื้อหาข้อความที่ผ่านการออกแบบและได้รับการอนุมัติจากปภ.ไปกระจายจัดส่งผ่านสถานีฐานตามพื้นที่ที่ปภ.กำหนดให้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งการที่ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นรายแรกที่ติดตั้งฟังก์ชั่น Cell Broadcast Service ครบทุกเสาสัญญาณทั่วประเทศ จะทำให้ทรูมีความพร้อมที่จะกระจายข้อความเตือนภัยได้ครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าทรูดีแทคทุกราย

yokekung

สนใจงานเขียน มาตั้งแต่ อ่านนิตยสาร จนได้เขียนในนิตยสารคอมพิวเตอร์ มือถือ จนมาเป็น Blogger เขียนบนออนไลน์ สนใจมือถือ สมาร์ทโฟน การตลาดออนไลน์ ชอบ Social Media อยู่กับโลกสังคมออนไลน์ 20 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน เป็น Content Editor เว็บไซต์ ADSLThailand.com, ทำวีดีโอบน YouTube YokekungWorld ติดตามได้ที่ Twitter Facebook Instagram ทุกบริการใช้ชื่อ yokekung

View all posts by yokekung →

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save